หน้าแรก
| สารบัญ | โครงงาน
| การประกอบ | การบัดกรี
| เรียนอิเล็กทรอนิกส์
| อุปกรณ์ | 555
| สัญลักษณ์ | ถามบ่อยๆ
| ลิ้งค์ที่น่าสนใจ
| กลับไอซีอี
หากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง
ติชม เสนอแนะ ถามปัญหา
ได้ที่
ice@icelectronic.com
จะขอบคุณยิ่ง
ความต้านทาน(Resistance)
ความต้านทาน |
อนุกรม | ขนาน
| ตัวนำและฉนวนหน้าต่อไป:
กฎของโอห์ม
ควรดู: แรงดันและกระแส
| ตัวต้านทาน | อนุกรมและขนาน
| อิมพิแดนซ์ ด้วย
ความต้านทาน
ความต้านทานเป็นคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า
เมื่อมีแรงดันตกคร่อมอุปกรณ์
ก็จะเกิดพลังงานขับให้กระแสไหลผ่านตัวมัน
และพลังงานจะปรากฎในรูปของความร้อน
ที่ตัวอุปกรณ์ความต้านทานมีหน่วยวัดเป็นโอห์ม
และสัญลักษณ์ของโอห์มคือตัวโอเมกา
.
1
เป็นค่าที่ค่อนข้างจะมีใช้น้อยมากสำหรับอิเล็กทรอนิกส์
ค่าที่ใช้บ่อยๆจะเป็น k
และ M.
1 k = 1000
1 M
= 1000000 .
ตัวต้านทานที่ใช้ในอิเล็กทรอนิกส์สามารถมีค่าต่ำๆเช่น
0.1
จนสูงมากเช่น10 M.
ตัวต้านทานต่อกันแบบอนุกรม
เมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวอนุกรมกัน
ความต้านทานรวมเท่ากับค่าความต้านทานแต่ละตัวรวมกัน
ตัวอย่างเช่น ตัวต้านทาน R1 และ
R2 ต่ออนุกรมกัน
ความต้านทานรวม R หาได้จาก:ความต้านทานรวมแบบอนุกรม: R = R1 + R2
ถ้าหากต่ออนุกรมกันหลายๆตัวก็สามารถหาค่ารวมได้: R = R1 + R2 + R3 + R4 + ...
หมายเหตุ:
ความต้านทานรวมแบบอนุกรมจะมากกว่าความต้านทานแต่ละตัวเสมอ
ตัวต้านทานต่อกันแบบขนาน
เมื่อตัวต้านทานต่อกันแบบขนาน
ผลรวมความต้านทานจะน้อยกว่าความตานทานแต่ละตัว
ตัวอย่างตัวต้านทาน R1 และ R2
ต่อขนานกัน
ผลรวมความต้านทานหาได้จากสมการ:
ผลรวมความต้านทาน
สองตัวต่อแบบขนาน: |
R = |
R1 × R2 |
R1 + R2 |
ถ้าตัวต้านทานมากกว่าสองตัวต่อขนานกัน
สมการรวมแบบขนานจะยากมากขึ้น
สมการที่ใช้คือส่วนกลับของความต้านทานรวมแบบขนานจะเท่ากับ
ผลรวมของส่วนกลับความต้านทานแต่ละตัว:
1 |
= |
1 |
+ |
1 |
+ |
1 |
+ ... |
R |
R1 |
R2 |
R3 |
สมการรวมความต้านแบบขนาน 2
ตัวดูจะใช้ง่ายกว่า!
หมายเหตุ:
ความต้านทานรวมแบบขนานจะน้อยกว่าความต้านทานแต่ละตัวเสมอ
ตัวนำ, สานกึ่งตัวนำ และฉนวน
ความต้านทานของวัตถุขึ้นอยู่กับรูปร่างและวัสดุที่นำมาใช้
ในกรณีวัสดุเหมือนกัน
วัตถุที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดเล็กกว่าหรือมีความยาวมากกว่าย่อมมีความต้านทานสูงกว่า
วัสดุสามารถแบ่งออกได้เป็น 3
กลุ่มคือ:
- ตัวนำ ซึ่งมีความต้านทานต่ำ
ตัวอย่าง: โลหะ(อลูมิเนียม
ทองแดง เงิน เป็นต้น)
และคาร์บอน
โลหะใช้ทำสายไฟ,
ตัวสัมผัสสวิทช์
และไส้หลอด
ตัวต้านทานทำจากคาร์บอนหรือขดลวดเส้นเล็กๆ
- สารกึ่งตัวนำ
ซึ่งมีความต้านทาน พอประมาณ
ตัวอย่าง: เยอรมันเนียม,
ซิลิคอน
สารกึ่งตัวนำใช้ทำ ไดโอด, LED,
ทรานซิสเตอร์และไอซี(integrated
circuits)
- ฉนวน ซึ่งมีความต้านทานสูงมาก
ตัวอย่าง:
พลาสติคโดยส่วนใหญ่เช่น
โพลี่เธนและพีวีซี(โพลี่ไวนีลคลอไรด์),
กระดาษ, กระจก
พีวีซีใช้ทำฉนวนห่อหุ้มลวดสายไฟ
ป้องกันไม่ให้สัมผัสกัน
หน้าต่อไป: กฎของโอห์ม
| เรียนอิเล็กทรอนิกส์
ไอซีอีแปลและเรียบเรียง
เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย
ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ
ขอขอบคุณ Mr. James Hewes