| หน้าแรก | สารบัญ | โครงงาน | การประกอบ | การบัดกรี | เรียนอิเล็กทรอนิกส์  | อุปกรณ์ | 555 | ถามบ่อยๆ | ลิ้งค์ที่น่าสนใจ | กลับไอซีอี |
Electronics Clubหากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง ติชม เสนอแนะ ถามปัญหา ได้ที่ ice@icelectronic.com จะขอบคุณยิ่ง

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจร(Circuit Symbols)

สาย | แหล่งจ่าย | อุปกรณ์ทางออก | สวิทช์ | ตัวต้านทาน | ตัวเก็บประจุ | ไดโอด | ทรานซิสเตอร์ | เสียง & วิทยุ | มิเตอร์ | ตัวตรวจรู้ | เกทตรรก | ดาวน์โหลดสัญลักษณ์

หน้าต่อไป: ไฟฟ้าและอิเล็กตรอน
ควรดู: แผนภาพวงจร ด้วย

สัญลักษณ์แทนตัวอุปกรณ์จะถูกใช้ใน แผนภาพวงจร เพื่อแสดงให้เห็นการต่อเข้าด้วยกันของวงจร  แต่รูปแบบตัวอุปกรณ์จริงจะแตกต่างจากแผนภาพวงจร ฉะนั้นในการสร้างวงจรจึงจำเป็นต้องมีแผนภาพแสดงการวางอุปกรณ์บน สตริปบอร์ด หรือ แผ่นปริ้นท์

 

สายและการต่อ

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร  หน้าที่ของอุปกรณ์
สาย(wire) wire symbol ให้กระแสผ่านได้ง่ายมากจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นของวงจร
จุดต่อสาย wires joined symbol เขียนหยดจุดที่สายต่อกัน  ถ้าสายต่อและตัดกันเป็นสี่แยก ต้องเลื่อนให้เหลื่อมกันเล็กน้อยเป็นรูปตัวทีสองตัวต่อกลับหัว เช่นจุดต่อด้านขวามือ
สายไม่ต่อกัน wires crossing but not joined symbol ในวงจรที่ซับซ้อนมีสายมากจำเป็นต้องเขียนสายตัดกันแต่ไม่ต่อกัน นิยมใช้สองวิธีคือเส้นตรงตัดกันโดยไม่มีจุดหยด หรือเส้นหนึ่งเขียนโค้งข้าม อีกเส้นที่เป็นเส้นตรงดังรูปทางขวา อยากแนะนำให้ใช้แบบหลังเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นจุดต่อที่ลืมใส่จุดหยด

 

แหล่งจ่ายกำลัง

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร  หน้าที่ของอุปกรณ์
เซลล์ cell symbol แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า เซลล์ตัวเดียวจะไม่เรียกว่าแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ battery symbol แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า  แบตเตอรี่จะมีมากกว่า 1 เซลล์ต่อเข้าด้วยกัน
ป้อนไฟตรง(DC) DC power supply symbol ป้อนพลังงานไฟฟ้า
DC = ไฟกระแสตรง ไหลทิศทางเดียวเสมอ
ป้อนไฟสลับ(AC) AC power supply symbol ป้อนพลังงานไฟฟ้า
AC = ไฟกระแสสลับ เปลี่ยนทิศทางการไหลตลอด
ฟิวส์ fuse symbol ป้องกันอุปกรณ์เสียหาย โดยตัวมันจะละลายขาดหากมีกระแสไหลผ่านเกินค่ากำหนด
หม้อแปลง transformer symbol ขดลวดสองขดเชื่อมโยงกันด้วยแกนเหล็ก หม้อแปลงใช้แปลงแรงดันกระแสสลับให้สูงขึ้นหรือลดลง พลังงานจะถ่ายโอนระหว่าง ขดลวดโดยสนามแม่เหล็กในแกนเหล็ก และไม่มีการต่อกันทางไฟฟ้าระหว่างขดลวด ทั้งสอง 
ดิน(earth)
(กราวด์)
earth symbol ต่อลงดิน  สำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปนี่คือ 0V (ศูนย์โวลท์)ของแหล่งจ่ายกำลัง  แต่สำหรับไฟฟ้าหลักและวงจรวิทยุบางวงจรหมายถึงดิน  บางที่เราเรียกว่ากราวด์

 

อุปกรณ์ด้านออก: หลอดไฟ, ใส้ความร้อน, มอเตอร์ ฯลฯ

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์
หลอด (แสงสว่าง) lamp (lighting) symbol ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสง สัญลักษณ์นี้เป็นหลอดให้แสงสว่าง ตัวอย่างเช่นหลอดไฟหน้ารถยนต์ หรือหลอดไฟฉาย
หลอด(ตัวชี้) (indicator) lamp (indicator) symbol ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสง สัญลักษณ์นี้ใช้สำหรับเป็นหลอดตัวชี้บอก ตัวอย่างเช่นหลอดไฟเตือนบนหน้าปัดรถยนต์
ตัวทำความร้อน (heater) heater symbol ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน
มอเตอร์ motor symbol ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานจล (หมุน)
กระดิ่ง(bell) bell symbol ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง
ออด (buzzer) buzzer symbol ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง
ตัวเหนี่ยวนำ
(ขดลวด, โซลินอยด์)
inductor symbol ขดลวด เมื่อมีกระแสไหลผ่านจะเกิดสนามแม่เหล็ก หากมีแกนเหล็กอยู่ข้างในจะสามารถแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยทำให้เกิดการผลักได้

 

สวิทช์

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์
สวิทช์กดต่อ push-to-make switch symbol สวิทช์กด ยอมให้กระแสไหลผ่านเมื่อสวิทช์ถูกกด เช่น สวิทช์กริ่งประตูบ้าน
สวิทช์กดตัด push-to-break switch symbol สวิทช์แบบกด ซึ่งปกติจะต่อ (on) และเมื่อถูกกดจะตัด (off)
สวิทช์ปิดเปิด
(SPST)
SPST on-off switch symbol SPST(Single Pole Single Throw)
สวิทช์ปิดเปิด ยอมให้กระแสไหลผ่านที่ตำแหน่งต่อ (on)
สวิทช์สองทาง
(SPDT)
SPDT switch symbol SPDT(Single Pole Double Throw)
สวิทช์สองทาง เปลี่ยนสลับการต่อเพื่อให้กระแสไหลผ่านได้ไปทางตำแหน่งที่เลือก  สวิทช์สองทางบางแบบจะมีสามตำแหน่ง โดยตำแหน่งกลางไม่ต่อ(off) ตำแหน่งจึงเป็น เปิด-ปิด-เปิด(on-off-on)
สวิทช์ปิดเปิดคู่
(DPST)
DPST switch symbol DPST(Double Pole Single Throw)
สวิทช์ปิดเปิดแบบคู่ ปิดเปิดพร้อมกัน เหมาะสำหรับตัด-ต่อหรือปิด-เปิด วงจรพร้อมกันสองเส้น เช่น ไฟเมน
สวิทช์สองทางคู่
(DPDT)
DPDT switch symbol DPDT(Double Pole Double Throw)
สวิทช์สองทางแบบคู่ เปลี่ยนสลับการต่อพร้อมกัน เช่นใช้ในการต่อเพื่อกลับทิศทางการหมุนของมอเตอร์ดีซี สวิทช์บางแบบจะมีสามตำแหน่งคือตำแหน่งไม่ต่อ(off)ตรงกลางด้วย
รีเลย์ relay symbol สวิทช์ทำงานด้วยไฟฟ้า เมื่อมีไฟ เช่น 12โวลท์ 24 โวลท์ มาป้อนให้ขดลวดแกนเหล็ก จะเกิดการดูดตัวสัมผัสให้ต่อกัน ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ต่อวงจรหรือตัดวงจร แล้วแต่ว่าต่ออยู่ที่ขา NO หรือ NC
NO = ปกติตัด  COM = ขาร่วม  NC = ปกติต่อ

 

ตัวต้านทาน

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์
ตัวต้านทาน resistor symbol ตัวต้านทานทำหน้าที่ต้านการไหลของกระแส เช่น การใช้ตัวต้านทานต่อเพื่อจำกัดกระแสที่ไหลผ่าน LED
ตัวต้านทานปรับค่าได้
(รีโอสตาท)
rheostat symbol ตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดนี้มีสองคอนแทค (รีโอสตาท)ใช้สำหรับปรับกระแส ตัวอย่างเช่น ปรับความสว่างของหลอดไฟ, ปรับความเร็วมอเตอร์, และปรับอัตราการไหลของประจุเข้าในตัวเก็บประจุ เป็นต้น
ตัวต้านทานปรับค่าได้
(Potentiometer)
potentiometer symbol ตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดนี้มีสามคอนแทค (โพเทนชิออมิเตอร์) ใช้สำหรับควบคุมแรงดัน สามารถใช้เหมือนกับตัวแปลงเพื่อแปลง ตำแหน่ง(มุมของการหมุน)เป็นสัญญาณไฟฟ้า เช่น วอลุ่มปรับความดัง โทนคอนโทรลปรับทุ้มแหลม
ตัวต้านทานปรับค่าได้
(Preset)
preset symbol ตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดนี้ใช้สำหรับปรับตั้งล่วงหน้า(preset)ใช้ไขควงเล็กๆหรือเครื่องมืออื่นที่คล้ายกันปรับ  ถูกปรับตั้งตอน ประกอบปรับแต่งวงจรจากนั้นอาจไม่มีการปรับอีก  บางแบบเป็นรูปเกือกม้าปรับได้ไม่ถึงรอบ บางแบบปรับละเอียดได้หลายรอบ

 

ตัวเก็บประจุ

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร  หน้าที่ของอุปกรณ์
ตัวเก็บประจุ capacitor symbol ตัวเก็บประจุ เก็บสะสมประจุไฟฟ้า ใช้ต่อร่วมกับตัวต้านทานเป็นวงจรเวลา  สามารถใช้เป็นตัวกรอง  เป็นตัวกั้นไฟดีซีไม่ให้ผ่าน แต่ยอมให้สัญญาณเอซีผ่านได้
ตัวเก็บประจุมีขั้ว polarised capacitor symbol ตัวเก็บประจุชนิดมีขั้ว เก็บสะสมประจุไฟฟ้า เวลาใช้ต้องต่อให้ถูกขั้ว ใช้ต่อร่วมกับตัวต้านทานเป็นวงจรเวลา  สามารถใช้เป็นตัวกรอง  เป็นตัวกั้นไฟดีซีไม่ให้ผ่าน แต่ยอมให้สัญญาณเอซีผ่านได้
ตัวเก็บประจุปรับค่าได้ variable capacitor symbol ตัวเก็บประจุปรับค่าได้ใช้ในจูนเนอร์วิทยุ
ตัวเก็บประจุทริมเมอร์ trimmer capacitor symbol ตัวเก็บประจุปรับค่าได้โดยการใช้ไขควงเล็กๆหรือเครื่องมืออื่นที่คล้ายกันปรับ ถูกปรับตั้งตอน ประกอบปรับแต่งวงจร จากนั้นอาจไม่มีการปรับอีก

 

ไดโอด

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร  หน้าที่ของอุปกรณ์
ไดโอด diode symbol อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ยอมให้กระแสไหลผ่านทางเดียว
LED
ไดโอดเปล่งแสง
LED symbol อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสง
ซีเนอร์ไดโอด zener diode symbol ไดโอดที่รักษาแรงดันคงที่ตกคร่อมตัวมัน
ไดโอดพลังแสง photodiode symbol ไดโอดที่มีความไวต่อแสง

 

ทรานซิสเตอร์

อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร  หน้าที่ของอุปกรณ์
ทรานซิสเตอร์ NPN NPN transistor symbol ทรานซิสเตอร์อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดNPN สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเป็นตัวขยาย(Amplifier)หรือวงจรสวิทชิ่ง(Switching)
ทรานซิสเตอร์ PNP PNP transistor symbol ทรานซิสเตอร์อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดPNP สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเป็นตัวขยาย(Amplifier)หรือวงจรสวิทชิ่ง(Switching)
ทรานซิสเตอร์พลังแสง Phototransistor symbol ทรานซิสเตอร์ที่มีความไวต่อแสง

 

อปุกรณ์เสียงและวิทยุ

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร  หน้าที่ของอุปกรณ์
ไมโครโฟน microphone symbol ตัวแปลงสัญญาณเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า
หูฟัง earphone symbol ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง
ลำโพง loudspeaker symbol ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง
ตัวแปลงพิโซ
(Piezo
)
piezo transducer symbol ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง
ภาคขยาย
(สัญลักษณ์ทั่วไป)
amplifier symbol วงจรภาคขยายมีทางเข้าเดียว จริงๆแล้วเป็นสัญลักษณ์แผนภาพบล็อค เพราะทำหน้าที่แสดงแทนวงจรไม่ใช่แทนอุปกรณ์เดี่ยวๆ
สายอากาศ
(Antenna)
aerial symbol อุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อรับหรือส่งสัญญาณวิทยุ

 

มิเตอร์และออสซิลโลสโคป

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร  หน้าที่ของอุปกรณ์
โวลท์มิเตอร์ voltmeter symbol โวลท์มิเตอร์ใช้วัดแรงดัน
ชื่อที่ถูกต้องของแรงดันคือความต่างศักด์แต่คนส่วนใหญ่ชอบเรียกว่าแรงดัน
แอมป์มิเตอร์ ammeter symbol แอมป์มิเตอร์ใช้วัดกระแส
กัลวาโนมิเตอร์ galvanometer symbol กัลวาโนมิเตอร์เป็นมิเตอร์ที่มีความไวสูงใช้สำหรับวัดค่ากระแสน้อยๆ เช่น1 มิลลิแอมป์หรือต่ำกว่า
โอห์มมิเตอร์ ohmmeter symbol โอห์มมิเตอร์ใช้วัดความต้านทาน เครื่องมัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่สามารถตั้งวัดความต้านทานได้
ออสซิลโลสโคป oscilloscope symbol ออสซิลโลสโคปใช้แสดงรูปคลื่นสัญญาณทางไฟฟ้า และสามารถวัดแรงดันกับช่วงเวลาของสัญญาณ

 

ตัวตรวจรู้(Sensors) (อุปกรณ์ทางเข้า)

 อุปกรณ์   สัญลักษณ์วงจร  หน้าที่ของอุปกรณ์
ตัวต้านทานเปลี่ยน
แปลงตามแสง(LDR
)
LDR symbol ตัวแปลงที่แปลงความสว่าง(แสง)เป็นความต้านทาน(คุณสมบัติทางไฟฟ้า)
LDR = Light Dependent Resistor
เทอมิสเตอร์ thermistor symbol ตัวแปลงที่แปลงอุณหภูมิ(ความร้อน)เป็นความต้านทาน(คุณสมบัติทางไฟฟ้า)

 

เกทตรรก(Logic Gates)

กระบวนการสัญญาณเกทตรรกซึ่งแสดงค่าจริง(true) (1, สูง, +Vs, เปิด) หรือไม่จริง( false) (0, ต่ำ, 0V, ปิด).
สำหรับรายละเอียดกรุณาดูที่หน้า เกทตรรก(Logic Gates)
สำหรับสัญลักษณ์เกทมีสองแบบคือสัญลักษณ์แบบเก่า กับสัญลักษณ์แบบIEC(International Electrotechnical Commission).
ชนิดเกท  สัญลักษณ์แบบเก่า สัญลักษณ์แบบ IEC  หน้าที่ของเกท
NOT
นอต
NOT gate traditional symbol NOT gate IEC symbol นอตเกทมีขาเข้าเพียงหนึ่งขา ถ้าด้านออกเป็น'o' หมายถึง 'ไม่(not)' ด้านออกของนอตเกทจะตรงกันข้ามกับด้านเข้า ดังนั้นด้านออกจะเป็นจริง(true)เมื่อด้านเข้าไม่จริง(false) นอตเกทเรียกอีกอย่างว่าอินเวอเตอร์
AND
แอนด์
AND gate traditional symbol AND gate IEC symbol แอนด์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ด้านออกของเกทแอนด์(AND)เป็นจริงเมื่อด้านเข้าทุกขาเป็นจริง 
NAND
แนนด์
NAND gate traditional symbol NAND gate IEC symbol แนนด์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ค่า 'o' ทางด้านออกหมายถึง'ไม่(not)' ซึ่งก็คือเกท นอตแอนด์ (Not AND)
นั่นเอง ด้านออกของเกทแนนด์(NAND) เป็นจริงเมื่อด้านเข้าอย่างน้อยหนึ่งขาเป็น'o'
OR
ออร์
OR gate traditional symbol OR gate IEC symbol ออร์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ด้านออกของเกทออร์(OR) เป็นจริงเมื่อด้านเข้าอย่างน้อยหนึ่งขาเป็นจริง
NOR
นอร์
NOR gate traditional symbol NOR gate IEC symbol นอร์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ค่า'o' ทางด้านออกหมายถึง'ไม่(not)'ซึ่งก็คือเกท นอตออร์(Not OR) นั่นเอง ด้านออกของเกทนอร์(NOR)เป็นจริงเมื่อด้านเข้าทุกขาไม่เป็นจริง(เป็น 0 ทุกขา)
EX-OR
เอกซ์-ออร์
EX-OR gate traditional symbol EX-OR gate IEC symbol เอกซ์-ออร์เกทสามารถมีด้านเข้าเพียงสองขา ด้านออกของเกทเอกซ์-ออร์(EX-OR)เป็นจริงเมื่อด้านเข้าต่างกัน (ขาหนึ่งจริงแต่อีกขาหนึ่งไม่จริง)
EX-NOR
เอกซ์-นอร์
EX-NOR gate traditional symbol EX-NOR gate IEC symbol เอกซ์-นอร์เกทสามารถมีด้านเข้าเพียงสองขา ค่า'o'ที่ด้านออกหมายถึง'ไม่(not)' ซึ่งก็คือเกท นอตเอกซ์-ออร์(Not EX-OR)  นั่นเอง  ด้านออกของเกทเอกซ์-นอร์ (EX-NOR)เป็นจริง(true)เมื่อด้านเข้าเหมือนกัน(ทั้งจริงและไม่จริง)

ดาวน์โหลดชุดสัญลักษณ์วงจร

คุณสามารถดาวน์โหลดรวมชุดสัญลักษณ์วงจรจากข้างบนทั้งหมด   โดยแฟ้มชุดสัญลักษณ์จะถูกบีบอัดเพื่อความสะดวกและเมื่อดาวน์โหลดไปแล้ว จะต้องขยายแฟ้มด้วยโปรแกรม WinZip หรือ WinRAR  
หน้าต่อไป: ไฟฟ้าและอิเล็กตรอน | เรียนอิเล็กทรอนิกส์

ไอซีอีแปลและเรียบเรียง เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ ขอขอบคุณ Mr. James Hewes