| หน้าแรก | สารบัญ | โครงงาน | การประกอบ | การบัดกรี | เรียนอิเล็กทรอนิกส์ | อุปกรณ์ | 555 | สัญลักษณ์ | ถามบ่อยๆ | ลิ้งค์ที่น่าสนใจ | กลับไอซีอี |
Electronicsหากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง ติชม เสนอแนะ ถามปัญหา ได้ที่ ice@icelectronic.com จะขอบคุณยิ่ง

ออสซิลโลสโคป(Oscilloscopes)

การปรับแต่ง | การต่อ |การวัด | ฐานเวลา(Timebase) | Y-แอมปลิไฟเออร์ | สวิทช์AC/GND/DC

หน้าต่อไป: แหล่งจ่ายไฟ
ควรดู: เอซี.ดีซี และสัญญาณไฟฟ้า ดัวย

ออสซิลโลสโคปเป็นเครื่องมือวัดซึ่งจะทำให้เราเห็นรูปร่างของสัญญาณไฟฟ้าโดยแสดงเป็นกราฟของแรงดันบนแกนเวลาที่จอภาพ
oscilloscope symbol
สัญลักษณ์ของออสซิลโลสโคปที่ใช้ในวงจร
 
Oscilloscope, photograph ? Rapid Electronics
    หลอดรังสีแคโทดออสซิลโลสโคป (CRO)
เหมือนกับเป็นโวลท์มิเตอร์ที่มีฟังชั่นพิเศษแสดงค่าแรงดันที่เปลี่ยนไปตามเวลา และด้วยช่องตารางขนาด 1 ซม.ทำเราให้สามารถวัด ค่าแรงดันกับเวลาจากจอได้  รูปกราฟนี้ปกติเราเรียกว่ารอยเส้น(trace)ถูกเขียนโดยลำอิเล็กตรอนที่ยิงมากระทบหน้าจอซึ่งฉาบด้วยฟอสเฟอร์
ทำให้เกิดการเปล่งแสง ปกติจะเป็นสีเขียวหรือน้ำเงิน ทำนองเดียวกันกับการเกิดภาพของจอโทรทัศน์

ออสซิลโลสโคปที่ใช้หลอดสูญญากาศ(CRO)จะมีปืนอิเล็กตรอน(electron gun)ซึ่งประกอบด้วย แคโทด (ขั้วลบ) ที่ปลายข้างหนึ่ง เพื่อยิง อิเล็กตรอนและ แอโนด (ขั้วบวก)ที่ปลายอีกข้าง เพื่อเร่งการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนให้รวดเร็วไปยังจอ   นอกจากนี้หลอดยังมีขั้วสำหรับ ทำหน้าที่เบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอน ให้ไปทางซ้าย-ขวา บน-ล่าง ด้วยเหตุที่แคโทดเป็นตัวยิงอิเล็กตรอนเราจึงเรียกอิเล็กตรอนนี้ว่ารังสีแคโทด
(cathode ray)และออสซลโลสโคปที่ใช้หลอดชนิดนี้จึงเรียกว่ารังสีแคโทดออสซิลโลสโคป(Cathode Ray Oscilloscope)หรือ CRO

ปัจจุบัน CRO ไม่นิยมใช้กันแล้ว  และหลอด CRT ก็เลิกผลิต จอ LCD กลับมาแทนที่สำหรับดิจิตอลออสซิลโลสโคปรุ่นใหม่ๆ 
 

 

 

ดิจิตอลออสซิลโลสโคป

ออสซิลโลสโคปแบบรอยเส้นคู่(dual trace)หรือ2ช่องสามารถแสดงกราฟสัญญาณสองรอย
บนจอ ทำให้สะดวกในการใช้งาน เช่น การวัดเปรียบเทียบสัญญาณเข้าและออกของเครื่อง ขยายได้ง่ายเป็นต้น แต่ราคาเครื่องก็แพงตามไปด้วย  อย่างไรก็ตามปัจจุบันดิจิตอลออสซิล
โลสโคป มีให้เลือกมากกว่า 2 ช่อง สามารถแสดงกราฟได้หลากสี มีฟังชั่นการใช้งานมากมาย
ขนาดก็บาง น้ำหนักเบา กินไฟน้อย แต่ราคายังคงแพงอยู่

ข้อควรระวัง


การปรับแต่ง ออสซิโลสโคป

ออสซิลโลสโคปเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างซับซ้อนใช้ยากมีปุ่มปรับมากและต้องมีการปรับตั้งก่อนใช้งาน รอยเส้นจะหายไปจากจอง่ายหากปรับไม่ถูกต้อง ปุ่มปรับต่างๆของออสซิลโลสโคปตลอด
จนชื่อเรียกจะคล้ายกันทุกยี่ห้อ  คำแนะนำการใช้ต่อไปนี้อาจต้องปรับเปลี่ยนบ้างเพื่อให้เหมาะ้ที่จะใช้กับออสซิลโลสโคปที่ท่านมีใช้อยู่  

    Oscilloscope trace
    นี่คือสิ่งที่เราจะเห็นหลังจากปรับตั้งแล้ว
    โดยยังไม่ต่อสัญญาณเข้า 
  1. เปิดสวิทช์ออสซิลโลสโคปเพื่ออุ่นเครื่อง (ใช้เวลา 1-2 นาที)
  2. ยังไม่ต้องต่อสายสัญญาณเข้าตอนนี้
  3. ตั้ง AC/GND/DC สวิทช์ (ที่ Y อินพุท) ไปที่ตำแหน่ง DC
  4. ตั้ง SWP/X-Y สวิทช์ไปที่ SWP (กวาด)
  5. ตั้ง Trigger Level ไปที่ AUTO
  6. ตั้ง Trigger Source ไปที่ INT (ภายใน, อินพุท Y)
  7. ตั้ง Y AMPLIFIER ไปที่ 5V/cm (ค่าปานกลาง)
  8. ตั้ง TIMEBASE ไปที่ 10ms/cm (เวลาปานกลาง)
  9. ปรับหมุนปุ่ม VARIABLE ควบคุมฐานเวลาไปที่ 1 หรือ CAL.
  10. ปรับ Y SHIFT (ขึ้น/ลง) และ X SHIFT (ซ้าย/ขวา)ให้ปรากฎรอยเส้นที่กลางจอเหมือนรูปขวามือ 
  11. ปรัย INTENSITY (ความสว่าง) และ FOCUS ให้เส้นสว่างและคม
  12. ตอนนี้ออสซิลโลสโคปพร้อมที่จะใช้งาน!
    การต่อสายสัญญาณเข้าจะอธิบายถึงในตอนต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ่มควบคุม: ฐานเวลา(Timebase) | Y แอมปลิไฟเออร์ | AC/GND/DC สวิทช์

การต่อออสซิลโลสโคป

co-axial lead
โครงสร้างของสายโคแอกเซี่ยล
Oscilloscope probe
สายออสซิลโลสโคปและชุดโปรบคิท 
 
สายต่อสัญญาณเข้าอินพุท Y ของออสซิลโลสโคปจะต้องเป็นสายโค-แอกเซี่ยล ดังรูปแสดงโครงสร้างของสาย  สายเส้นกลางเป็นตัวนำสัญญาณ และสกรีนต่อลงดิน (0V) เพื่อชีลด์สัญญาณจากสิ่งรบกวนทางไฟฟ้า (ที่เรียกว่านอยส์)

ขั้วต่ออินพุท Y ของออสซิลโลสโคปโดยทั่วไปเป็นซ็อคเกทแบบ BNC สามารถต่อสายเข้าโดยการเสียบแล้วก็หมุน ตอนถอดออกก็หมุนกลับแล้วก็ดึง ออสซิลโลสโคปตามโรงเรียนมักใช้สายต่ออินพุทเป็นสายดำ-แดง ใช้กับซ็อคเกท 4mm ธรรมดา ไม่มีสกรีน  ซึ่งสายปลั๊ก4mm ธรรมดาก็สามารถใช้ได้ หากจำเป็น

แต่สำหรับมืออาชีพจะใช้สายและโปรบคิทที่ออกแบบมาพิเศษเฉพาะซึ่งเป็นผลดีเมื่อวัดสัญญาณความถี่สูงและทดสอบกับวงจรที่มีความต้านทานสูง แต่ก็ไม่จำเป็นสำหรับงานธรรมดาในย่านความถี่เสียง(สูงถึง 20kHz).

การต่อออสซิลโลสโคปก็เหมือนกับการต่อ  โวลท์มิเตอร์ แต่ต้องพึงระวังว่าสายสกรีน (สีดำ) ของสายอินพุทได้ถูกต่อกับสายดินหลักที่ตัว ออสซิลโลสโคป นั่นหมายถึงว่าสายนี้จะต้องต่อลงดินหรือ 0V บนวงจรที่ทดสอบด้วย


Oscilloscope trace of AC
รูปคลื่นของสัญญาณเอซี เมื่อ 
ปรับตั้งปุ่มควบคุมต่างๆถูกต้อง

การทำให้ได้รอยเส้น(trace)ที่สะอาดและเสถียร

เมื่อต่อออสซิลโลสโคปกับวงจรเพื่อทดสอบวัดเราจำเป็นที่จะต้องปรับปุ่มควบคุมต่างๆเพื่อให้ได้รอยเส้นที่สะอาดและเสถียรบนจอ ดังนี้ หากใช้ออสซิลโลสโคปเป็นครั้งแรก จะเป็นการดีที่สุดที่เริ่มต้นกับการวัดสัญญาณง่ายๆเช่นไฟเอซีจากเพาเวอร์แพคตั้งไว้สักประมาณ 4V

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ่มควบคุม: ฐานเวลา(Timebase) | Y แอมปลิไฟเออร์ | AC/GND/DC สวิทช์


การวัดแรงดันและคาบเวลา

Wave properties รอยเส้นบนจอออสซิลโลสโคปคือกราฟของแรงดันตามเวลา  รูปร่างของกราฟเป็นไปตามลักษณะของสัญญาณที่อินพุท

นอกจากนี้คุณสมบัติที่แสดงบนกราฟจะมีความถี่ ซึ่งคือจำนวนรอบต่อวินาที

แผนภาพแสดงคลื่นซายน์ซึ่งคุณสมบัติเหล่าินี้นำไปใช้กับสัญญาณอื่นๆที่มีรูปร่างคงที่


 
Oscilloscope trace of AC
รูปคลื่นสัญญาณเอซี
Y แอมปลิไฟเออร์: 2V/cm
ฐานเวลา: 5ms/cm
ตัวอย่างการวัด:

แรงดันยอดถึงยอด = 8.4V
ขนาดแรงดัน
= 4.2V

คาบเวลา = 20ms
ความถี่
= 50Hz

แรงดัน

แรงดันแสดงทางแนวตั้ง แกน-y และมาตราส่วนถูกกำหนดโดยปุ่มควบคุม Y แอมปลิไฟเออร์ (VOLTS/CM) ปกติวัดเป็นแรงดันยอดถึงยอดเพราะว่าสามารถ
อ่านได้ถูกต้องแม้ว่าไม่ทราบตำแหน่งของ 0V  ส่วนขนาด(amplitude) ของแรงดันเท่ากับครึ่งหนึ่งของแรงดันยอดถึงยอด

หากต้องการอ่านขนาดแรงดันโดยตรงเราจะต้องตรวจสอบหาตำแหน่ง 0V (ปกติจะอยู่ที่ครึ่งบนจอ): เลื่อนสวิทช์ AC/GND/DC ไปที่ตำแหน่ง GND (0V) และปรับปุ่ม Y-SHIFT (ขึ้น/ลง)เลื่อนตำแหน่ง
รอยเส้นหากจำเป็น
, จากนั้นปรับสวิทช์กลับไปที่ DC จะมองเห็นสัญญาณอีกครั้ง

แรงดัน = ระยะทางเป็น cm × แรงดัน/cm
ตัวอย่าง: แรงดันยอดถึงยอด = 4.2cm × 2V/cm = 8.4V
ขนาด (แรงดันยอด) = ½ × แรงดันยอดถึงยอด = 4.2V

 

คาบเวลา

เวลาแสดงทาง แนวนอน แกน-x และมาตราส่วนถูกกำหนดโดยปุ่มควบคุมฐานเวลา (TIME/CM) คาบเวลา (หรือเรียกทับศัพท์ว่าพีเรียด)คือเวลา ในหนึ่งรอบของสัญญาณ  ส่วนความถี่คือจำนวนรอบต่อหนึ่งวินาที  ความถี่ = 1/ช่วงเวลา

ต้องแน่ใจว่าปรับปุ่มฐานเวลาไปที่ 1 หรือ CAL (แคลลิเบรท) ก่อนที่จะอ่านค่าเวลา

เวลา = ระยะทางเป็น cm × เวลา/cm
ตัวอย่าง: ช่วงเวลา = 4.0cm × 5ms/cm = 20ms
    และ   ความถี่ = 1/ช่วงเวลา = 1/20ms = 50Hz


Oscilloscope, slow timebase
ฐานเวลาช้า,ไม่มีอินพุท 
จะมองเห็นเป็นจุดเคลื่นที่
Oscilloscope, fast timebase
ฐานเวลาเร็ว, ไม่มีอินพุท
จุดจะเคลื่อนที่เร็วจนมอง
เห็นเป็นเส้น

ฐานเวลา (เวลา/cm) และปุ่มควบคุมทริกเกอร์

ลำอิเล็กตรอนของออสซิลโลสโคปจะกวาดหน้าจอจากซ้ายไปขวาด้วยความเร็วที่ถูกตั้งโดยปุ่มฐานเวลา(TIMEBASE) การปรับแต่ละครั้งตามป้ายที่แสดงด้วย
เวลา  จุดจะเลื่อนไป 1 ซม. มีผลต่อมาตราส่วนตามแกน-x ปุ่มควบคุมฐานเวลามักติดป้ายกำกับว่า TIME/CM

หากตั้งฐานเวลาช้า (เช่น 50ms/cm) เราจะมองเห็นจุดเคลื่อนที่ข้ามจอ  แต่ถ้าตั้งฐานเวลาเร็ว (เช่น 1ms/cm) จุดจะเคลื่อนที่เร็วจึงปรากฎเห็นเป็นเส้น

ปุ่มปรับฐานเวลา VARIABLE สำหรับปรับความเร็วละเอียด  แต่จะต้องตั้งไว้ที่ตำแหน่ง 1 หรือ CAL (แคลลิเบรท) หากเราต้องการอ่านค่าเวลาจากรอยเส้น บนจอที่ถูกต้อง

ปุ่มควบคุมทริกเกอร์(TRIGGER)ปรับช่วยรักษาความแน่นอนของรอยเส้นบนจอ หากปรับไม่ถูกจะเห็นรอยเส้นขยับเลื่อนไปด้านข้าง เกิดรอยเส้นลวกๆสบสนบนจอ
หรือไม่ก็หายไปเลย  ทริกเกอร์คงรักษาความแน่นอนของรอยเส้น ตั้งแต่จุดเริ่มกวาดข้ามจอจนสัญญาณอินพุทกลับมาถึงจุดเดิมทุกรอบเวลา

สำหรับการใช้งานอย่างตรงไปตรงมา ดีที่สุดคือตั้งระดับทริกเกอร์ไว้ที่ AUTO แต่หากเห็นว่ารอยเส้นไม่ค่อยจะนิ่ง  ขยับด้านข้างอยู่เรื่อยก็ค่อยๆปรับปุ่มทริกเกอร์ ช่วยได้


ปุ่มควบคุม Y แอมปลิไฟเออร์ (โวลท์/cm)

Oscilloscope trace of varying DC
DCเปลี่ยนแปลง (ทางบวก)
 
รอยเส้นจะเคลื่อนที่สูงและต่ำตามแรงดันที่ Y อินพุทและการปรับตั้งปุ่มควบคุม Y แอมปลิไฟเออร์   ปุ่มควบคุมนี้ตั้งค่าแรงดันแทนโดยแต่ละเซนติเมตรบนจอ การตั้งมีผลต่อมาตราส่วนบนแกน-y   แรงดันบวกทำให้รอยเส้นเลื่อนขึ้นส่วนแรงดันลบทำให้มันเลื่อนลง

ปุ่มควบคุมY แอมปลิไฟเออร์จะมีป้ายกำกับว่า Y-GAIN หรือ VOLTS/CM.

แรงดันอินพุทเลื่อนจุดขึ้นและลง ในขณะเดียวกันก็กวาดข้ามจอ นั่นหมายถึงรอยเส้นบนจอคือกราฟของแรงดัน (แกน-y) ตาม เวลา (แกน-x)ของสัญญาณอินพุท


สวิทช์ AC/GND/DC

Oscilloscope, input 0V
สวิทช์ไปที่ GND ทำให้สามารถตรวจ
สอบตำแหน่ง
0Vได้รวดเร็ว 
(ปกติจะอยู่ที่ครึ่งทางขึ้น
)
การปรับตั้งปรกติของสวิทช์นี้อยู่ที่ตำแหน่ง DC สำหรับทุกสัญญาณรวมทั้งสัญญาณ AC

สวิทช์ตำแหน่ง GND (ดิน) เท่ากับต่ออินพุท Y เข้ากับ 0V และทำให้เราตรวจสอบตำแหน่ง 0V บนจอได้รวดเร็ว(ปกติจะอยู่ที่ครึ่งทางขึ้น) ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้อง ถอดสายสัญญาณอินพุทออก เพราะว่ามัันมีการตัดต่อภายในแล้ว

สวิทช์ไปที่ตำแหน่ง AC จะมีการต่อตัวเก็บประจุอนุกรมกับอินพุทเพื่อบล็อคสัญญาณ DC ใดๆไม่ให้ผ่านเข้ายกเว้นสัญญาณ AC  การใช้วิธีนี้เพื่อดูสัญญาณค่าคงที่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เช่นพริ้ว(ripple)ที่เอาท์พุทของแหล่งจ่ายไฟดีซี  การปรับลด VOLTS/CM เพื่อดูรายละเอียดของพริ้ว  ปกติจะทำให้ รอยเส้นหายไป จากจอ  การตั้งที่ AC จะเคลื่อนส่วนสัญญาณคงที่ (DC)ออกไป ทำให้เราสามารถมองเห็นส่วนที่เปลี่ยนแปลง (AC)ได้ และ ตอนนี้เราก็สามารถ ลดVOLTS/CM. เพื่อให้เห็น ชัดยิ่งขึ้น ดังแสดงในแผนภาพด้านล่าง:

 
แสดงสัญญาณพริ้ว(ripple)โดย AC สวิทช์
Ripple signal Ripple signal Ripple signal
สวิทช์อยู่ทีตำแหน่ง่DCปกติ
ส่วนพริ้วยากที่จะมองเห็น แต่
หากลด
VOLTS/CMเพื่อขยาย
รอยเส้นจะหายไปจากจอ
 
สวิทช์เลื่อนไปที่ตำแหน่ง AC
ส่วนที่คงที่
(DC) จะถูกเคลื่อนออก
คงเหลือแต่ส่วนพริ้ว
(AC)
ลดVOLTS/CM เพื่อขยายพริ้ว
ตอนนี้พริ้วสามารถมองเห็นได้ชัด


หน้าต่อไป: แหล่งจ่ายไฟ | เรียนอิเล็กทรอนิกส์

ไอซีอีแปลและเรียบเรียง เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ ขอขอบคุณ Mr. James Hewes