| หน้าแรก | สารบัญ
| โครงงาน | การประกอบ
| การบัดกรี |
เรียนอิเล็กทรอนิกส์ | อุปกรณ์
| 555 | สัญลักษณ์
| ถามบ่อยๆ | ลิ้งค์ที่น่าสนใจ
| กลับไอซีอี |
หากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง
ติชม เสนอแนะ ถามปัญหา
ได้ที่
ice@icelectronic.com
จะขอบคุณยิ่ง
แรงดัน(Voltage)และกระแส(Current)
หน้านี้: แรงดัน | กระแส |
... อนุกรมและขนาน
หน้าต่อไป: มิเตอร์
ควรดู: มัลติมิเตอร์ |
กฎของโอห์ม ด้วย
แรงดันและกระแสมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อที่จะรู้ซึ้งถึงอิเล็กทรอนิกส์
แต่ก็ค่อนข้างจะเข้าใจยากเพราะเรามองมันไม่เห็นโดยตรง
แรงดันคือเหตุ
กระแสคือผล
แรงดันพยายามทำให้กระแสไหลและกระแสจะไหลเมื่อครบวงจร
บางทีเราอธิบายแรงดันว่าคือการผลัก(push)หรือแรง(force)ของไฟฟ้า
มันไม่ใช่แรงที่แท้จริงแต่อาจจะช่วยให้เราจินตนาการได้
ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
เป็นไปไม่ได้ที่จะมีแรงดันโดยปราศจากกระแส
และกระแสไม่สามารถไหลได้โดยปราศจากแรงดัน
|
|
|
มีแรงดันและกระแส
สวิทช์ต่อทำให้ครบวงจรและมีกระแสไหล |
มีแรงดันแต่ไม่มีกระแส
สวิทช์ ไม่ต่อ(เปิด)
วงจรขาดตอน
กระแสจึงไม่ไหล |
ไม่มีแรงดันและไม่มีกระแส
เมื่อไม่มีเซลล์แหล่งจ่ายแรงดันจึงไม่มีกระแสไหล |
แรงดัน V
|
ต่อโวลท์มิเตอร์ขนาน |
- แรงดันคือการวัดพลังงานที่นำมาโดยประจุ
ที่จริง: แรงดันคือ "พลังงานต่อหน่วยประจุ"
- ชื่อที่ถูกต้องของแรงดันคือความต่างศักด์หรือเขียนสั้นๆว่า
p.d.แต่ไม่ค่อยมีใครใช้สำหรับอิเล็กทรอนิกส์
- แรงดันถูกจ่ายมาจากแบตเตอรี่(หรือแหล่งจ่ายกำลัง)
- แรงดันถูกใช้ไปในอุปกรณ์แต่ไม่ใช้ในสาย
- เราพูดว่าแรงดันคร่อมอุปกรณ์
- แรงดันมีหน่วยวัดเป็นโวลท์
(V)
- แรงดันวัดด้วยโวลท์มิเตอร์
ต่อวัดแบบขนาน
- สัญลักษณ์ V
ใช้แทนแรงดันในสมการ
แรงดันที่จุดใดๆ และ 0V (ศูนย์โวลท์)
แรงดันคือความต่างศักด์ระหว่างสองจุด
แต่ในทางอิเล็กทรอนิกส์แรงดันที่จุดใดๆหมายถึงแรงดันระหว่างจุดนั้นกับจุดอ้างอิง
0V (ศูนย์โวลท์)ศูนย์โวลท์เป็นจุดไหนก็ได้ในวงจรที่ต่อจากขั้วลบของแบตเตอรี่หรือแหล่งจ่ายไฟ
เรามักจะเห็นตัวอักษร 0V
บอกเสมอในแผนภาพวงจร
อาจจะข่วยให้เข้าใจง่ายหากคิดเรื่องแรงดันเทียบกับทางภูมิสาสตร์
คือจุดอ้างอิงที่ศูนย์ของความสูงคือระดับเฉลี่ยน้ำทะเลโดยความสูงเริ่มวัดจากจุดนี้
ศูนย์โวลท์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เทียบได้กับระดับเฉลี่ยน้ำทะเลในทางภูมิศาสตร์
ศูนย์โวลท์สำหรับวงจรที่ใช้แหล่งจ่ายไฟคู่
บางวงจรต้องการแหล่งจ่ายไฟคู่
ต่อด้วยสายสามเส้นดังแสดงในแผนภาพ
สำหรับวงจรนี้จุดอ้างอิงศูนย์โวลท์คือตรงขั้วกลางระหว่างสองส่วนของแหล่งจ่ายในแผนภาพวงจรที่ซับซ้อนซึ่งใช้แหล่งจ่ายไฟคู่
นิยมใช้สัญลักษณ์ดิน(earth)แทนการต่อสายเข้า
0V
วิธีนี้จะช่วยลดจำนวนสายที่ต้องเขียนในแผนภาพ
แผนภาพแสดงแหล่งจ่ายไฟคู่
±9V ขั้วบวกคือ +9V ขั้วลบคือ -9V
และขั้วกลางคือ 0V
|
ต่ออนุกรมแอมป์มิเตอร์ |
กระแส I
- กระแสคืออัตราการไหลของประจุ
- กระแสไม่ได้ถูกใช้ไป
ไหลเข้าอุปกรณ์เท่าไหร่ก็ไหลออกเท่านั้น
- เรามักพูดว่ากระแสไหลผ่านอุปกรณ์
- กระแสมีหน่วยวัดเป็นแอมป์(แอมแปร์)A
- กระแสวัดด้วยแอมป์มิเตอร์
ต่อวัดแบบอนุกรม
ในการต่อแอมป์มิเตอร์อนุกรมต้องตัดวงจรและต่อแอมป์มิเตอร์ระหว่างช่องดังแสดงในแผนภาพ
- สัญลักษณ์ I
ใช้แทนกระแสในสมการ
ทำไมกระแสถึงแทนด้วยอักษร
กรุณาดูที่ ถามบ่อยๆ(FAQ)
1A (1 แอมป์)
ค่อนข้างมากสำหรับอิเล็กทรอนิกส์
จึงมักใช้ mA (มิลลิแอมป์)บ่อยกว่า
m (มิลลิ) หมายถึง "พัน"
1mA = 0.001A หรือ1000mA = 1A
การที่ต้องตัดวงจรเพื่อต่ออนุกรมแอมป์มิเตอร์ในวงจรที่บัดกรีแล้วค่อนข้างจะยุ่งยาก
ดังนั้นการทดสอบทางอิเล็กทรอนิกส์จึงมักใช้การวัดแรงดันด้วยโวลท์มิเตอร์
ซึ่งสามารถต่อวัดได้ง่ายโดยไม่รบกวนวงจร
แรงดันและกระแสของอุปกรณ์ต่ออนุกรม
แรงดันบวกรวม
สำหรับอุปกรณ์ต่ออนุกรม
กระแสเหมือนกัน ผ่านอุปกรณ์ทุกตัวที่ต่ออนุกรมในวงจรนี้แรงดัน
4V คร่อมตัวต้านทานและ 2V คร่อม LED
บวกรวมกันเท่ากับแรงดันแบตเตอรี่
2V + 4V = 6V.
กระแสผ่านอุปกรณ์ทุกตัว(แบตเตอรี่
ตัวต้านทาน และ LED) คือ 20mAเท่ากัน
แรงดันและกระแสของอุปกรณต่อขนาน
แรงดันเท่ากัน
คร่อมอุปกรณ์ต่อแบบขนานทุกตัว
กระแสบวกรวม
สำหรับอุปกรณ์ต่อแบบขนานในวงจรนี้
แรงดันตกคร่อมแบตเตอรี่
ตัวต้านทาน และหลอด เท่ากับ 6V
เท่ากัน
กระแสไหลผ่านตัวต้านทาน
30mA และไหลผ่านหลอด 60mA
บวกรวมกันเท่ากับกระแส 90mA
ผ่านแบตเตอรี่
หน้าต่อไป: มิเตอร์ |
เรียนอิเล็กทรอนิกส์
ไอซีอีแปลและเรียบเรียง
เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย
ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ
ขอขอบคุณ Mr. James Hewes