หน้าแรก
| สารบัญ | โครงงาน
| การประกอบ | การบัดกรี
| เรียนอิเล็กทรอนิกส์
| อุปกรณ์ | 555
| สัญลักษณ์ | ถามบ่อยๆ
| ลิ้งค์ที่น่าสนใจ
| กลับไอซีอี
หากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง
ติชม เสนอแนะ ถามปัญหา
ได้ที่
ice@icelectronic.com
จะขอบคุณยิ่ง
กฎของโอห์ม(Ohm's Law)
หน้าต่อไป: กำลังและพลังงาน
ควรดู: แรงดันและกระแส
| ความต้านทาน | ตัวต้านทาน
ถ้าจะให้มีกระแสไหลผ่านความต้านทาน
จะต้องมีแรงดันคร่อมตัวต้านทาน
กฎของโอห์มแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน(V)
กระแส (I) และความต้านทาน (R)
สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ได้
3 อย่างคือ:
ในเมื่อ: |
V = แรงดัน
หน่วยเป็นโวลท์ (V)
I = กระแสหน่วยเป็นแอมป์(A)
R =
ความต้านทานหน่วยเป็นโอห์ม
() |
หรือ: |
V = แรงดัน
หน่วยเป็นโวลท์ (V)
I =
กระแสหน่วยเป็นมิลลิแอมป์
(mA)
R =
ความต้านทานหน่วยเป็นกิโลโอห์ม
(k) |
สำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยส่วนใหญ่หน่วยแอมป์ดูจะสูงไปส่วนหน่วยโอห์มก็ต่ำไป
หน่วยที่ใช้บ่อยในการวัดกระแสคือมิลลิแอมป์(mA)และความต้านทานจะเป็นกิโลโอห์ม(k)
1 mA = 0.001 A และ 1 k
= 1000 .จากสมการกฎของโอห์มใช้แทนค่าด้วยหน่วย
V, A และ
หรือจะใช้หน่วย V, mA และ k
ก็ได้ โดยไม่ต้องแปลงหน่วย
แต่ถ้าใช้การผสมหน่วยที่นอกเหนือจากนี้จำเป็นต้องแปลงหน่วยเสียก่อน
ระหว่าง mA และ A หรือ k
และ
สามเหลี่ยม VIR
V
I R
|
สามเหลี่ยม
กฎของโอห์ม |
เราสามารถใช้สามเหลี่ยม VIR
ช่วยในการจำกฎของโอห์มทั้งสาม
โดยให้เขียน V, I และ R
เป็นสามเหลี่ยมดังรูปเหลืองขวามือ
- ถ้าจะคำนวนหาแรงดัน V:
ให้วางนิ้วทับ V
ที่เหลือจะมองเห็น I R
ดังนั้นสมการก็คือ V = I × R
- ถ้าจะคำนวนกระแส I:
ให้วางนิ้วทับ I
ที่เหลือจะมองเห็น V
อยู่เหนือ R
ดังนั้นสมการก็คือ I = V/R
- ถ้าจะคำนวนความต้านทาน R:
ให้วางนิ้วทับ R
ที่เหลือจะมองเห็น V
อยู่เหนือ I
ดังนั้นสมการก็คือ R = V/I
การคำนวนกฎของโอห์ม
ใช้วิธีการต่อไปนี้เป็นแนวทางในการคำนวน:
- เขียนค่าลงไป
หากจำเป็นก็แปลงหน่วย
- เลือกสมการตามที่ต้องการ(โดยใช้สามเหลี่ยม
VIR )
- แทนตัวเลขในสมการและคำนวนหาคำตอบ
ตอนนี้จะเห็นได้ว่า ง่ายมาก!
- แรงดัน 3 V
ป้อนคร่อมตัวต้านทาน 6
จะมีกระแสไหลเท่าไหร่?
- ค่า: V = 3 V, I = ?, R = 6
- ใช้สมการ: I = V/R
- แทนตัวเลข:
จะได้กระแส I = 3/6 = 0.5 A
- หลอดไฟต่อกับแบตเตอรี่ 6 V
มีกระแสไหลผ่านf 60 mA
หลอดจะมีความต้านทานเท่าไหร่?
- ค่า: V = 6 V, I = 60 mA, R = ?
- ใช้สมการ: R = V/I
- แทนตัวเลข:
จะได้ความต้านทานหลอด R = 6/60 =
0.1 k =
100
(กระแสใช้หน่วย mA เวลาคำนวนออกมาจะได้ความต้านทานมีหน่วยเป็น
k)
- ตัวต้านทาน 1.2 k
มีกระแสไหลผ่าน 0.2 A
จะมีแรงดันตกคร่อมเท่าไหร่?
- ค่า: V = ?, I = 0.2 A, R = 1.2 k
= 1200
(1.2 k
แปลงเป็น 1200
เพราะ A และ k
จะต้องไม่ใช้ด้วยกัน)
- ใช้สมการ: V = I × R
- แทนตัวเลข:
จะได้แรงดันตกคร่อมตัวต้านทาน
V = 0.2 × 1200 = 240 V
หน้าต่อไป: กำลังและพลังงาน |
เรียนอิเล็กทรอนิกส์
ไอซีอีแปลและเรียบเรียง
เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย
ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ
ขอขอบคุณ Mr. James Hewes