หน้าต่อไป: แรงดันและกระแส
ควรดู: สัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจร
และ แผนภาพวงจร ด้วย
แบบอนุกรม(series)การต่อแบบนี้กระแสที่ไหลผ่านอุปกรณ์แต่ละตัวเท่ากันแรงดันจากแบตเตอรี่จะถูกแบ่งระหว่างหลอดทั้งสอง |
|
แบบขนาน(parallel)การต่อแบบนี้อุปกรณ์แต่ละตัวจะมีแรงดันเท่ากันหลอดทั้งสองมีแรงดันเต็มจากแบตเตอรี่ตกคร่อม |
ตัวอย่างเช่นวงจรด้านขวา ตัวต้านทานและLED ต่ออนุกรมกัน (ขวาสุด) และหลอดสองหลอดต่อขนานกัน(ตรงกลาง) สวิทช์ต่ออนุกรมกับหลอดทั้งสอง
ดู
การต่อหลอดแบบขนาน
ด้านล่างสำหรับตัวอย่างอื่น
คุณอาจจะเข้าใจว่าหลอดทั้งหมดจะดับหากมีหลอดเสียเพียงหนึ่งหลอด แต่หลอดไฟต้นคริสต์มาสไม่ดับ เพราะมันถูกออกแบบให้ลัดวงจรเมื่อหลอดเสีย(ขาด) (เป็นสื่อนำเหมือนโยงสาย) ดังนั้นวงจรจึงไม่ขาดตอนและหลอดที่เหลืออยู่จึงยังคงสว่าง ทำให้ง่ายในการหาตำแหน่งหลอดเสีย ในชุดไฟคริสต์มาสมีหลอดฟิวส์ด้วยหลอดหนึ่งซึ่งจะขาดลักษณะปกติ(ไม่ลัดวงจรเมื่อขาด)
ไฟเมนบ้านคือ 220 โวลท์ ต้องใช้หลอด 6.3 โวลท์ 35 หลอด หรือหลอด 12 โวลท์ 18 หลอด ต่ออนุกรมกัน วิธีหาจำนวนหลอดก็โดยการเอาแรงดันของหลอดไปหาร 220 โวลท์ จริงๆแล้วไม่ลงตัว ในทางปฏิบัติก็ปัดเศษเพิ่มหรือลดอีกหลอดได้
ข้อควรระวัง! หลอดไฟต้นคริสต์มาสดูเหมือนว่าปลอดภัยไม่มีอันตรายเพราะใช้ไฟเพียง 6.3 หรือ12 โวลท์ แต่มันต่อกับไฟเมนบ้านซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ จึงควรถอดปลั๊กออกเสมอก่อนเปลี่ยนหลอดไฟ เพราะแรงดันตกคร่อมขั้วหลอดที่ไม่มีหลอดจะเท่ากับ 220 โวลท์เต็ม จริงๆนะครับ
วงจรแบบนี้เรียกว่า วงจรขนาน แต่จะเห็นว่ามันไม่ค่อยง่ายจริง - สวิทช์ต่ออนุกรมกับหลอด แล้วถึงนำคู่หลอดกับสวิทช์มาต่อขนานกัน
ในแผนภาพแสดงวงจรง่ายๆที่ใช้สวิทช์สองตัวต่ออนุกรมกันเพื่อควบคุมหลอดไฟ
เมื่อสวิทช์ S1 และ
สวิทช์ S2 ต่อ(closed)หลอดก็จะติด
(ถ้าเป็นเกทตรรกเรียกว่า
S1 แอนด์(AND) กับS2)
ในแผนภาพแสดงวงจรง่ายๆที่ใช้สวิทช์สองตัวต่อขนานกันเพื่อควบคุมหลอดไฟ
เมื่อสวิทช์
S1 หรือ สวิทช์ S2 (หรือทั้งสอง)
ต่อ(closed)หลอดก็จะติด
(ถ้าเป็นเกทตรรกเรียกว่า
S1 ออร์(OR) กับS2)