| หน้าแรก | สารบัญ | โครงงาน | การประกอบ | การบัดกรี | เรียนอิเล็กทรอนิกส์ | อุปกรณ์ | 555 | สัญลักษณ์ | ถามบ่อยๆ | ลิ้งค์ที่น่าสนใจ | กลับไอซีอี |
Electronics Club หากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง ติชม เสนอแนะ ถามปัญหา ได้ที่ ice@icelectronic.com จะขอบคุณยิ่ง

 

วงจรนับ(Counting Circuits)

หน้าบน | ฐานสอง(Binary) | 4-บิท(bit) | บีซีดี(BCD) | ตัวนับ(Counters) | ริบเปิ้ล/ซิงโครนัส(Ripple/Synchronous) | รีเซ็ท(Reset) | แบ่งหารความถี่(Freq. division) | ตัวถอดรหัส(Decoders) | ขับตัวแสดงผล(Display drivers) | การเชื่อมโยง(Linking)

หน้าต่อไป: ปริมาณ(Quantities)และหน่วย(Units)
ควรดู: ไอซีอนุกรม4000 (4000series ICs) | ไอซีอนุกรม74 (74 series ICs) | โลจิคเกท(Logic Gates)

เลขฐานสอง(Binary numbers)

สถานะโลจิค
(Logic states)
 จริง
(True) 
เท็จ
(False)
1 0
สูง
(
High)
ต่ำ
(Low)
+Vs 0V
เปิด
(
On)
ปิด
(
Off)
 
 
วงจรอิเล็กทรอนิกส์นับเป็นเลขฐานสอง นี่เป็นระบบการนับที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะใช้ตัวเลขเพียงสองหลักคิอ 0 และ 1, ซึ่งเหมือนกับสัญญาณโลจิคทุกประการ โดย 0 แทนค่าเท็จ(false) และ 1 แทนค่าจริง(true)  คำว่าต่ำและสูงยังใช้สำหรับ 0 และ 1ตามลำดับดังแสดงในตาราง

การนับหนึ่ง, สอง, สาม, สี่, ห้า ในรูปแบบเลขฐานสองคือ  1, 10, 11, 100, 101.

เลขฐานสองเมื่อจำนวนเพิ่มมากขึ้นจะยาวอย่างรวดเร็ว ทำให้ยากต่อการอ่าน แต่โชคดีที่แทบไม่จำเป็นต้องอ่านเลขฐานสองมากกว่า4หลักต่อครั้งในวงจรนับ 

ในเลขฐานสองแต่ละหลักแทนผลคูณของสอง (1, 2, 4, 8, 16 ฯลฯ) ในลักษณะเดียวกับที่แต่ละหลักในเลขทศนิยม(ฐานสิบ)แทนผลคูณของสิบ(1, 10, 100, 1000 เป็นต้น)
ตัวอย่างเช่น 10110110 ในเลขฐานสองเท่ากับ 182 ในเลขทศนิยม(ฐานสิบ)
ค่าตัวเลข(Digit value): 128   64   32   16   8   4   2   1    
เลขฐานสอง(Binary number):  1     0     1     1     0     1     1     0     
ค่าทศนิยม(Decimal value): 128 + 0 + 32 + 16 + 0 + 4 + 2 + 0 = 182

 

บิท(Bits), ไบต์ (bytes) และ นิบเบิ้ล (nibbles)

เลขฐานสองแต่ละหลักเรียกว่าบิท(bit), ดังนั้น 10110110 เป็นเลข 8บิท

บล็อคขนาด 8 บิท เรียกว่าไบต์ (byte) และสามารถเก็บเลขฐานสองจำนวนสูงสุดได้  11111111 = 255 ในรูปของทศนิยม คอมพิวเตอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC ทำงานร่วมกับบล็อคขนาด 8 บิท 2 ไบต์(หรือมากกว่า), ตัวอย่างเช่น PICs ทำงาน 16บิท (สองไบต์ ) ซึ่งสามารถเก็บจำนวนสูงสุดได้ 1111111111111111= 65535 ในรูปของทศนิยม

บล็อกที่มี 4 บิท เรียกว่า นิบเบิ้ล(nibble) (ครึ่งไบต์!) และสามารถเก็บจำนวนสูงสุดได้ 1111 = 15 ในรูปของทศนิยม  วงจรนับจำนวนมากทำงานกับบล็อกขนาด 4 บิท เนื่องจากจำนวนบิทนี้จำเป็นต่อการนับถึง 9 ในรูปของทศนิยม  (จำนวนเลขสูงสุดของ3 บิทคือ 7 ในรูปของทศนิยมเท่านั้น)

เลขฐานสิบหก(Hexadecimal)

เลขฐานสิบหก ( มักเรียกว่าเฮก'hex') คือเลขฐาน16 ที่นับได้ 16หลัก โดยเริ่มจากเลขทศนิยม  0-9 แล้วต่อด้วยตัวอักษร A (10), B (11), C (12), D (13), E (14) และ F (15) เลขฐานสิบหกแต่ละหลักเทียบเท่ากับเลขฐานสอง 4 หลัก ทำให้การแปลงระหว่างสองระบบค่อนข้างง่าย เราอาจพบเลขฐานสิบหกที่ใช้กับ PIC และระบบคอมพิวเตอร์ แต่โดยทั่วไปจะไม่ใช้ในวงจรนับอย่างง่าย

ตัวอย่าง:เลขฐานสอง 10110110  = B6 เลขฐานสิบหก = 182 เลขทศนิยม


หน้าบน |ฐานสอง(Binary) | 4-บิท(bit) | บีซีดี(BCD) | ตัวนับ(Counters) | ริบเปิ้ล/ซิงโครนัส(Ripple/Synchronous) | รีเซ็ท(Reset) | แบ่งหารความถี่(Freq. division) | ตัวถอดรหัส(Decoders) | ขับตัวแสดงผล(Display drivers) | การเชื่อมโยง(Linking)

ตัวเลข 4 บิท

ฐานสอง
Binary
D C B A
ฐานสิบ
Decimal
ฐาน16
Hex
0 0 0 0
0 0 0 1
0 0 1 0
0 0 1 1
0 1 0 0
0 1 0 1
0 1 1 0
0 1 1 1
1 0 0 0
1 0 0 1
1 0 1 0
1 0 1 1
1 1 0 0
1 1 0 1
1 1 1 0
1 1 1 1
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
A
B
C
D
E
F
ตารางด้านขวาแสดงตัวเลข 4 บิท และค่าทศนิยม

ตัว A,B,C,D ใช้กันอย่างแพร่หลายในอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงถึงสี่บิทคือ

ทศนิยมรหัสไบนารี่(Binary Coded Decimal) BCD

ทศนิยมรหัสไบนารี่ BCDเป็นเวอร์ชั่นพิเศษของไบนารี่ 4 บิท ซึ่งการนับจะรีเซ็ทเป็นศูนย์ (0000) หลังจากนับครั้งที่เก้า (1001) มันถูกใช้โดยตัวนับเดเคด(decade counters) และแปลงได้ง่ายเพื่อแสดงเลขฐานสิบ 0-9 บนจอแสดงผล 7ส่วน (7-segment)

ตัวนับดีเคดหลายตัวที่ใช้ BCD สามารถเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อแยกนับเลขฐานสิบหลักหนึ่ง หลักสิบ หลักร้อยและอื่นๆ ซึ่งง่ายกว่าการพยายามแปลงเลขฐานสองขนาดใหญ่(เช่น 10110110) เพื่อแสดงค่าเลขฐานสิบ

อย่าสับสนระหว่าง BCD (Binary Coded Decimal) กับอักษรฉลาก A,B,C,D ที่ใช้แทนเลขฐานสอง สี่หลัก มันเป็นเรื่องบ้งเอิญที่มีตัวอักษร BCD เกิดขันในทั้งสอง


หน้าบน | ฐานสอง(Binary) | 4-บิท(bit) | บีซีดี(BCD) | ตัวนับ(Counters) | ริบเปิ้ล/ซิงโครนัส(Ripple/Synchronous) | รีเซ็ท(Reset) | แบ่งหารความถี่(Freq. division) | ตัวถอดรหัส(Decoders) | ขับตัวแสดงผล(Display drivers) | การเชื่อมโยง(Linking)

ตัวนับ(Counters)

555 astable output
สัญญาณนาฬิการูปคลื่นสี่เหลี่ยม
switch bounce
สัญญาณเอาท์พุทกระเด้ง(bouncing)เมื่อสวิทช์ต่อ
4-bit counter
4-บิทเคาเตอร์ และ คล๊อคอินพุท
ในตัวอย่างนี้การนับเกิดขึ้นในช่วงขอบขาลง
 (falling-edge)ของสัญญาณนาฬิกา(clock)
LED ติด = 1   LED ดับ = 0
ทุกตัวนับ(counters)ต้องการสัญญาณนาฬิกา(clock)คลื่นสี่เหลี่ยม(square wave) เพื่อให้เกิดการนับ นี่คือรูปคลื่นดิจิตอลที่การเปลี่ยนผ่าน ระหว่างต่ำ (0V) และสูง (+Vs)มีความคม, เช่นเอาท์พุทจากวงจร 555 อะสเตเบิ้ล

ทุกสวิทช์เกิดการเด้ง(bounce) เมื่อหน้าสัมผัสปิดลงจะให้อนุกรมพัลซ์อย่างรวดเร็ว การเชื่อมต่อสวิทช์โดยตรงกับอินพุทคล๊อคจะเกิดการนับซ้ำหลายครั้งเมื่อสวิทช์ต่อ
เพียงครั้งเดียว วิธีหนึ่งในการลดการเด้ง(debounce)ของสวิทช์ก็โดยใช้การทริกวงจร555 โมโนสเตเบื้ล ในช่วงเวลาสั้นๆ (เช่น 0.1วินาที) และใช้เอาท์พุทของโมโนสเตเบิ้ลขับเคลื่อนอินพุทสัญญาณนาฬิกา

แผนภาพบล็อกแบบเคลื่อนไหวแสดงสัญญาณนาฬิกาที่ขับเคลื่อนตัวนับ4บิท (0-15) นับ พร้อมLEDs ที่เชื่อมต่อเพื่อแสดงสถานะของคล๊อคและเอาท์พุทตัวนับQA-QD (Q บ่งชี้เอาท์พุท)

LED บนเอาท์พุท QA แรกจะกระพริบที่ความถี่ครึ่งหนึ่งของLEDนาฬิกา ในความเป็นจริงความถี่ของแต่ละขั้นตอนของตัวนับคือครึ่งหนึ่งของความถี่ของขั้นตอนก่อนหน้า  เราสามารถดูรูปแบบนี้ได้เช่นกันในตารางด้านบนซึ่งแสดงตัวเลข 4บิท

สังเกตว่าเอาท์พุท QA เปลี่ยนสถานะทุกครั้งที่อินพุทนาฬิกาเปลี่ยนจากสูงไปต่ำ(นั่นคือเมื่อLED นาฬิกาดับ) สิ่งนี้เรียกว่าขอบขาลง(falling-edge) หากเราดูการนับอย่างใกล้ชิด จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของQB บนขอบขาลงของQA, QC บนขอบขาลงของQB และต่อไป

อารจะประหลาดใจที่เห็นไดอะแกรมที่วาดต้วยอินพุททางด้านขวาและสัญญาณที่ไหลจากขวาไปซ้าย ซึ่งตรงกันข้ามกับแบบแผนทั่วไปในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การวาดวงจรนับเช่นนี้ หมายความว่าเอาท์พุทอยู่ในลำดับเลขฐานสองที่ถูกต้อง เพื่อให้เราอ่านได้ง่าย และคิดว่านี่มีประโยชน์มากกว่าการยึดติดกับแบบแผนซ้ายไปขวาตามปกติ

ตัวนับริบเปิ้ล(Ripple)และซิงโครนัส(synchronous counters)

flip-flop
การทำงานของฟลิป-ฟลอป
สังเกตุว่าความถี่ของเอาท์พุทจะลดลงครึ่งหนึ่ง
ของความถี่อินพุท
เคาเตอร์มีสองประเภทหลักคือ ริปเปิ้ล(ripple) และซิงโครนัส(synchronous) ในวงจรง่ายๆปรากฎพฤติกรรมเกือบคล้ายกัน แต่โครงสร้างภายในต่างกันโดยสิ้นเชิง

ตัวนับริปเปิ้ล(ripple) ประกอบด้วยห่วงโซ่ฟลิปฟลอป(flip-flops) ที่เอาท์พุทแต่ละอันป้อนเข้าอินพุทของอันถัดไปเอาท์พุทฟลิปฟลอปเปลี่ยนสถานะทุกครั้งที่อินพุทเปลี่ยนจากสูงไปต่ำ(ขอบขาลง) การจัดง่ายๆแบบนี้ทำงานได้ดี แต่มีความล่าช้าเล็กน้อย เนื่องจากผลของริปเปิ้ลคล๊อคผ่านห่วงโซ่ของฟลิปฟลอป

ในวงจรส่วนใหญ่การหน่วงเวลาของริปเปิ้ลไม่เป็นปัญหา เพราะสั้นเกินกว่าจะมองเห็นได้บนจอแสดงผล อย่างไรก็ตามระบบโลจิคที่เชื่อมต่อกับเอาท์พุทตัวนับริปเปิ้ลจะเห็นการนับเท็จ(false)ในเวลาสั้นๆ ซึ่งอาจสร้างความผิดพลาดในระบบโลจิคและอาจทำให้การทำงานของระบบหยุดชะงักได้ ตัวอย่างเช่น ตัวนับริปเปิ้ลที่เปลี่ยนจาก 0111 (7) ไปเป็น 1000 (8) จะแสดง 0110, 0100 และ 0000 ก่อน 1000 ในเวลาสั้นๆ

ตัวนับซิงโครนัส(synchronous) มีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเอาท์พุททั้งหมดเปลี่ยนพร้อมกันอย่างแม่นยำในแต่ละพัลซ์สัญญาณนาฬิกา เพื่อหลีกเลี่ยงการนับเท็จสั้นๆที่เกิดกับตัวนับริปเปิ้ล


คล๊อคอินพุทขอบขาขึ้น(Rising-edge) และขอบขาลง(falling-edge)

rising-edge and falling-edge การนับเกิดขึ้นเมื่อสัญญาณนาฬิกา(clock)เปลี่ยนสถานะ อาจจะดูแปลกที่ตัวนับริปเปิ้ลใช้ขอบขาลง แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งนี้ทำให้ง่ายต่อการเชื่อมโยงตัวนับ เนื่องจากบิทที่สำคัญที่สุด(MSB)ของตัวนับหนึ่งสามารถขับเคลื่อนสัญญาณนาฬิกาของตัวนับถัดไปได้ สิ่งนี้ใช้ได้เพราะบิทถัดไปต้องเปลี่ยนสถานะ เมื่อบิทก่อนหน้าเปลี่ยนจากสูงไปต่ำ -จุดที่การดำเนินการต้องเกิดขึ้นกับบิทถัดไป   ตัวนับแบบซิงโครนัสมักจะมีการดำเนินการออกและเข้าในขาสำหรับเชื่อมโยงตัวนับโดยไม่เกิดความล่าช้าของริปเปิ้ลใดๆ

หน้าบน | ฐานสอง(Binary) | 4-บิท(bit) | บีซีดี(BCD) | ตัวนับ(Counters) | ริบเปิ้ล/ซิงโครนัส(Ripple/Synchronous) | รีเซ็ท(Reset) | แบ่งหารความถี่(Freq. division) | ตัวถอดรหัส(Decoders) | ขับตัวแสดงผล(Display drivers) | การเชื่อมโยง(Linking)

การรีเซ็ทตัวนับ(Resetting a counter)

resetting counters ตัวนับสามารถรีเซ็ทเป็นศูนย์ก่อนนับจำนวนสูงสุด โดยเชื่อมต่อเอาท์พุทตัวหนึ่ง(หรือมากกว่า)เข้ากับอินพุทรีเซ็ท โดยใช้เกทAND เพื่อรวมเอาท์พุทหากจำเป็น

หากอินพุทรีเซ็ท แอคทีฟ-ต่ำ(active-low) ต้องใช้เกท NOT หรือ NAND  เพื่อสร้างเอาท์พุทต่ำตามติองการ  เมื่อเห็นเส้นขีดบน reset แสดงว่าแอคทีฟ-ต่ำ ตัวอย่างเช่น (อ่านว่า รีเซ็ท-บาร์)

โดยปกติแล้วฟังก์ชั่นรีเซ็ทจะเกิดขึ้นทันที และจะตัองรีเซ็ทเมื่อนับครั้งถัดไปเกินค่าสูงสุดที่ต้องการ เช่น หากจะนับ 0-5 (0000-0101) จะต้องรีเซ็ทที่ 6 (0110)

ตัวนับซิงโครนัสบางตัวมีการรีเซ็ทแบบซิงโครนัส(synchronous reset) ซึ่งเกิดขึ้นในพัลซ์นาฬิกาถัดไป แทนที่จะเกิดขึ้นทันที นี่เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากต้องรีเซ็ทที่จำนวนสูงสุดที่ต้องการ เช่น นับ 0-5 (0000-0101), รีเซ็ทที่ 5 (0101).

 

การตั้งค่า(Presetting)

ตัวนับบางตัวสามารถตั้งค่าล่วงหน้าได้ โดยแสดงที่อินพุท A-D และเปิดใช้งานอินพุทที่ตั้งไว้ล่วงหน้า เพื่อโหลดตัวเลขลงในตัวนับ ด้วยการทำให้อินพุท A-D ทั้งหมดต่ำ เราสามารถใช้สิ่งนี้รีเซ็ทตัวนับเป็นศูนย์

การแบ่งหารความถี่(Frequency division)

สามารถใช้ตัวนับเพื่อลดความถี่ของสัญญาณอินพุท(นาฬิกา)  แต่ละขั้นตอนของตัวนับ ลดความถี่ลงครึ่งหนึ่ง ดังนั้นสำหรับตัวนับ 4-บิท (0-15)  QA คือ 1/2, QB คือ 1/4, QC คือ 1/8 และ QD คือ 1/16 ของความถี่สัญญาณนาฬิกา การหารด้วยตัวเลขที่ไม่ใช่ตัวเลขยกกำลัง 2 ทำได้โดยการรีเซ็ทตัวนับ

การแบ่งความถี่เป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของตัวนับที่มีบิทมากกว่า4 บิทและเอาท์พุทมักจะระบุว่าเป็น Q1, Q2 และต่อไป  Qn คือขั้นที่ n ของตัวนับซึ่งเป็นตัวแทนของ 2n ตัวอย่างเช่น Q4 คือ 24 = 16 (1/16 ของความถี่สัญญาณนาฬิกา) และ Q12 คือ 212 = 4096 (1/4096 ของความถี่สัญญาณนาฬิกา)


หน้าบน | ฐานสอง(Binary) | 4-บิท(bit) | บีซีดี(BCD) | ตัวนับ(Counters) | ริบเปิ้ล/ซิงโครนัส(Ripple/Synchronous) | รีเซ็ท(Reset) | แบ่งหารความถี่(Freq. division) | ตัวถอดรหัส(Decoders) | ขับตัวแสดงผล(Display drivers) | การเชื่อมโยง(Linking)

ตัวถอดรหัส(Decoders)

using diodes to combine outputs ชนิดที่ได้รับความนิยมที่สุดคือตัวถอดรหัส1-ใน-10 ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายของโลจิคเกท เพื่อทำให้หนึ่งในสิบของเอาท์พุทQ0-9 มีค่าสูง(หรือต่ำ) เพื่อตอบสนองต่ออินพุทA-D ของ BCD (ไบนารี่โค๊ดเดซิมอล)  ตัวอย่างเช่นอินพุทของไบนารี่ 0101 (=5) จะเปิดที่เอาท์พุท Q5
 

สามารถใช้ตัวถอดรหัสแสดงการนับอย่างง่ายและสำหรับการสลับ LEDs ตามลำดับ  เอาท์พุทต้องไม่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยตรง แต่สามารถใช้ไดโอดเพื่อรวมเข้าด้วยกันดังที่แสดงในแผนภาพ
 

ตัวอย่างการใช้ไดโอดเพื่อรวมเอาท์พุทตัวที่ 2(Q1) และตัวที่ 4(Q3) จะทำให้ LED กระพริบสองครั้งตามด้วยช่องว่างที่ยาวขึ้น แผนภาพด้านบนแสดงสิ่งนี้สำหรับตัวถอดรหัสที่เอาท์พุทต่ำเมื่อเปิดใช้งาน(เช่น 7442)  และแผนภาพด้านล่างสำหรับตัวถอดรหัสที่เอาท์พุทสูงเมื่เปิดใช้งาน(เช่น 4028).


หน้าบน | ฐานสอง(Binary) | 4-บิท(bit) | บีซีดี(BCD) | ตัวนับ(Counters) | ริบเปิ้ล/ซิงโครนัส(Ripple/Synchronous) | รีเซ็ท(Reset) | แบ่งหารความถี่(Freq. division) | ตัวถอดรหัส(Decoders) | ขับตัวแสดงผล(Display drivers) | การเชื่อมโยง(Linking)

ตัวขับตัวแสดงผล7ส่วน(7-segment display drivers)

decade counter, display driver and 7-segment display
ดีเคดเคาเตอร์(Decade counter)
กับตัวขับจอแสดงผลและจอแสดงผล
7ส่วน(7-segment)
อินพุท A-D ของไดรเวอร์จอแสดงผลเชื่อมต่อกับ BCD (ไบนารี่โค๊ดเดซิมอล) เอาท์พุท QA-D จากตัวนับดีเคด(decade counter) เครือข่ายของโลจิคเกทในไดรเวอร์ตัวแสดงผล ทำให้เอาท์พุท a-g สูงหรือต่ำตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดแสงสว่างแก่ส่วน a-g ที่ต้องการของจอแสดงผล 7ส่วน โดยต้องใช้ตัวต้านทานต่ออนุกรมกับแต่ละเซกเมนท์เพื่อป้องกันLEDs ค่า330ohmเหมาะสมกับจอแสดงผลส่วนใหญ่ที่ใช้ไฟเลี้ยง 4.5V ถึง 6V พึงระวังว่าบางครั้งตัวต้านทานเหล่านี้ไม่แสดงในแผนภาพวงจรแต่ละไว้ในฐานที่เข้าใจ!

จอแสดงผล7ส่วนมีสองชนิดคือ

แอโหนด/แคโถด ร่วมมักมีขาให้ต่อใช้2ขา จอแสดงผลมีจุดทศนิยม(DP)ด้วย แต่ไดรเวอร์จอแสดงผลไม่ได้ควบคุม  เซ็กเมนท์ของจอแสดงผลขนาดใหญ่ใช้LEDสองตัวต่ออนุกรมกัน สำหรับการเชื่อมต่อจอแสดงผลโปรดดูแค็ตตาล็อกหรือแผ่นดาต้า(data sheet)ของผู้ผลิต

 

มัลติเพล็กซ์(Multiplexing)

หากใช้ตัวแสดงผล7ส่วนหลายตัวเพื่อเลขหลายหลัก มักใช้การมัลติเพล็กซ์(multiplexing) คือระบบการสลับเพื่อให้ตัวนับเดเคด(decade counter)ทั้งหมด แชร์ไดรเวอร์แสดงผลเดียวร่วมกัน ซึ่งเชื่อมต่อกับจอแสดงผลทั้งหมด เอาท์พุทของตัวนับแต่ละตัวเชื่อมต่อกับอินพุทของไดรเวอร์จอแสดงผล และในขณะเดียวกันก็เชื่อมต่อขาร่วมแอโหนด/แคโถดของจอแสดงผล7ส่วน ที่สอดคล้องกัน เพื่อให้ไฟจอแสดงผลเพียงดวงเดียวติดในแต่ละครั้ง  การสลับทำอย่างรวดเร็วมาก (โดยทั่วไปคือ 400 - 1000Hz) และกระแสเซ็กเมนท์มีขนาดมากกว่าปกติ ดังนั้นจอแสดงผลจึงแสดงอย่างต่อเนื่องและสว่างปกติ การมัลติเพล็กซ์ต้องใช้ไอซีในการสลับและวิธีการนี้ทำให้วงจรสมบูรณ์ใช้ไอซีน้อยกว่าการมีไดรเวอร์ตัวแสดงผลแยกแต่ละตัวสำหรับจอแสดงผล

หน้าบน | ฐานสอง(Binary) | 4-บิท(bit) | บีซีดี(BCD) | ตัวนับ(Counters) | ริบเปิ้ล/ซิงโครนัส(Ripple/Synchronous) | รีเซ็ท(Reset) | แบ่งหารความถี่(Freq. division) | ตัวถอดรหัส(Decoders) | ขับตัวแสดงผล(Display drivers) | การเชื่อมโยง(Linking)

การเชื่อโยงตัวนับ(Linking Counters)

ตัวนับอาจเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในห่วงโซ่เพื่อนับจำนวนที่มากขึ้น มันอาจน่าสนใจที่จะใช้ตัวนับขนาด12 บิท หรือ 14 บิท แต่การแปลงเลขฐานสองขนาดใหญ่เป็นเลขฐานสิบนั้นไม่สามารถทำได้  เราต้องใช้ห่วงโซ่ตัวนับเดเคด(decade) (0-9) ซึ่งใช้ BCD (ไบนารี่โค๊ดเดซิมอล) เพื่อทำใหัการแปลงเป็นเลขฐานสิบได้ง่ายมากคือ ตัวแรกนับหลักหน่วย ตัวที่สองนับหลักสิบ ตัวที่สามนับหลักร้อยและต่อๆไป

ไอซีตัวนับแบบคู่บางเบอร์มีตัวนับแยกกันสองตัว หากต้องการเชื่อมโยงตัวนับเข้าด้วยกันต้องต่อภายนอก(ไม่มีการเชื่อมโยงไว้ภายใน)

วิธีการเชื่อมโยงตัวนับขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวนับ ไดอะแกรมด้านล่างแสดงการจัดแบบทั่วไปสำหรับตัวนับริปเปิ้ลมาตรฐานและตัวนับแบบซิงโครนัส แต่สิ่งสำคัญคือต้องอ่านข้อมูลโดยละเอียดสำหรับตัวนับเฉพาะแบบ และศึกษาจากดาต้าชีทถ้าจำเป็น

  การเชื่อมโยงตัวนับริบเปิ้ล(Linking ripple counters)

แผนภาพด้านล่างแสดงวิธีการเชื่อมโยงตัวนับริปเปิ้ลมาตรฐาน สังเกตว่าเอาท์พุทสูงสุด(QD)ของแต่ละตัวนับขับเคลื่อนเข้าอินพุทนาฬิกา(CK) ของตัวนับถัดไป วิธีนี้ใช้ได้เพราะตัวนับริปเปิ้ลมีอินพุทนาฬิกาแบบคล๊อคบาร์คือแอคทีฟ-ต่ำ(active-low) ซึ่งหมายถึงว่าเกิดการนับต่อไปเมื่อสัญญาณนาฬิกาต่ำที่ขอบขาลง(falling-edge)

จำไว้ด้วยว่าตัวนับริปเปิ้ลทั้งหมดจะมีการหน่วงเวลาเล็กน้อยก่อนเอาท์พุทตัวหลังตอบสนองต่อสัญญาณนาฬิกา โดยเฉพาะกับห่วงโซ่ตัวนับที่ยาว นี่ไม่ใช่ปัญหาในวงจรขับแสดงผลแบบธรรมดา แต่อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในระบบโลจิคที่เชื่อมต่อกับเอาท์พุทตัวนับ

connecting ripple counters

การเชื่อมโยงตัวนับซิงโครนัส(Linking synchronous counters)

แผนภาพด้านล่างแสดงวิธีการเชื่อมโยงตัวนับซิโครนัสมาตรฐาน  สังเกตว่าอินพุทนาฬิกา(CK)เชื่อมโยงกันหมด และแครี่เอาท์(CO) ใช้ป้อนแครี่อิน(CI) ของตัวนับ  สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าห่วงโซ่ตัวนับทั้งหมดซิงโครนัสกัน โดยทุกเอาท์พุทจะเปลี่ยนพร้อมกัน  แครี่อิน(CI) ของตัวนับอันแรกควรต่ำหรือสูง ต้องเหมาะกับไอซีตัวนับที่ใช้
connecting synchronous counters


หน้าบน | ฐานสอง(Binary) | 4-บิท(bit) | บีซีดี(BCD) | ตัวนับ(Counters) | ริบเปิ้ล/ซิงโครนัส(Ripple/Synchronous) | รีเซ็ท(Reset) | แบ่งหารความถี่(Freq. division) | ตัวถอดรหัส(Decoders) | ขับตัวแสดงผล(Display drivers) | การเชื่อมโยง(Linking)
หน้าต่อไป: ปริมาณ(Quantities)และหน่วย(Units) | เรียนอิเล็กทรอนิกส์

อิเล็คทรอนิกส์เบื้องต้น, www.icelectronic.com
ไอซีอีแปลและเรียบเรียง เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ ขอขอบคุณ Mr. James Hewes