| หน้าแรก | สารบัญ | โครงงาน | การประกอบ | การบัดกรี | เรียนอิเล็กทรอนิกส์ | อุปกรณ์ | 555 | สัญลักษณ์ | ถามบ่อยๆ | ลิ้งค์ที่น่าสนใจ | กลับไอซีอี |
Electronics Club หากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง ติชม เสนอแนะ ถามปัญหา ได้ที่ ice@icelectronic.com จะขอบคุณยิ่ง

 

ปริมาณ(Quantities) และหน่วย (Units)ในอิเล็กทรอนิกส์

หน้าต่อไป: หนังสือเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์

 
ปริมาณ(Quantity) Usual
Symbol
หน่วย(Unit) Unit
Symbol
แรงดัน(Voltage) V โวลท์(volt) V
กระแส(Current) I แอมป์(amp)* A
ประจุ(Charge) Q คูลอมบ์(coulomb) C
ความต้านทาน(Resistance) R โอห์ม(ohm) ohm
ความจุ(Capacitance) C ฟารัด(farad) F
ความเหนี่ยวนำ(Inductance) L เฮนรี่(henry) H
รีแอคแตนซ์(Reactance) X โอห์ม(ohm) ohm
อิมพิแดนซ์(Impedance) Z โอห์ม(ohm) ohm
กำลัง(Power) P วัตต์(watt) W
พลังงาน(Energy) E จูล(joule) J
เวลา(Time) t วินาที(second) s
ความถี่(Frequency) f เฮิร์ท(hertz) Hz
* หน่วยเต็มคือแอมแปร์(ampere), แต่มักจะเรียกสั้นๆว่าแอมป(amp)

ปริมาณ(Quantities)

ตารางแสดงปริมาณทางไฟฟ้าที่ใช้ในอิเล็กทรอนิกส์

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสามารถเขียนได้โดยใช้คำหรือสัญลักษณ์(ตัวอักษร)แต่โดยปกติจะใช้สัญลักษณ์เพราะสั้นกว่ามาก ตัวอย่างเช่น V ใช้สำหรับแรงดันไฟฟ้า I fสำหรับกระแส และ R สำหรับความต้านทาน

ดังสมการคำ:

      แรงดัน(voltage) = กระแส(current) × ความต้านทาน(resistance)

เขียนเป็นสัญลักษณ์ตัวอักษร:   V = I × R

เพื่อป้องกันความสับสนเราใช้สัญลักษณ์(ตัวอักษร)เดียวกันสำหรับแต่ละปริมาณและสัญลักษณ์เหล่านี้จะแสดงในคอลัมน์ที่สองของตาราง

โปรดคลิกที่ปริมาณในตารางเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

 
คำนำหน้า
(
Prefix)
Prefix
Symbol

ค่า(Value)

มิลลิ(milli) m 10-3 = 0.001
ไมโคร(micro) µ 10-6 = 0.000 001
นาโน(nano) n 10-9 = 0.000 000 001
ปิคโก(pico) p 10-12 = 0.000 000 000 001
กิโล(kilo) k 103 = 1000
เมกะ(mega) M 106 = 1000 000
จิกะ(giga) G 109 = 1000 000 000
เทระ(tera) T 1012 = 1000 000 000 000

หน่วย(Units)

ตารางแรกแสดงหน่วย(Unit)และสัญญลักษณ์ของหน่วย(Unit Symbol) ซึ่งใช้วัดแต่ละปริมาณ ตัวอย่างเช่น: ประจุวัดเป็นคูลอมบ์และสัญลักษณ์ของคูลอมบ์คือ C

บางหน่วยมีขนาดที่สะดวกสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ส่วนใหญ่จะใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปที่จะใช้โดยตรง ดังนั้นจึงใช้คำนำหน้า(prefixes)ที่แสดงในตารางที่สองคำนำหน้าหน่วยทำให้หน่วยใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงตามค่าที่แสดง

บางตัวอย่าง เช่น
25 mA = 25 × 10-3 A = 25 × 0.001 A = 0.025 A
47µF = 47 × 10-6 F = 47 × 0.000 001 F = 0.000 047 F
270kohm = 270 × 103 ohm = 270 × 1000 ohm = 270 000 ohm


ทำไมไม่เปลี่ยนหน่วยเป็นขนาดที่ดีขึ้น?

อาจดูเหมือนเป็นความคิดที่ดีที่จะทำให้ฟารัด (F) มีขนาดเล็กลงมากเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้  µF, nF และ pF, แต่ถ้าเราทำสิ่งนี้ สมการส่วนใหญ่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีแฟคเตอร์ตั้งแต่ 1000000 ขึ้นไปรวมอยู่ด้วย เช่นเดียวกับปริมาณ โดยรวมแล้วจะดีกว่ามากหากมีหน่วยที่มีขนาดปัจจุบัน ซึ่งกำหนดอย่างมีเหตุผลจากสมการ

ที่จริงแล้วถ้าเราใช้สมการบ่อยๆ เราสามารถใช้ชุดหน่วยนำหน้าชุดพิเศษ ซึ่งสะดวกกว่า

ตัวอย่างเช่น: กฎของโอห์ม, V = I × R
    หน่วยมาตรฐานคือ โวลท์ (V), แอมป์ (A) และ โอห์ม (ohm),
    แต่เราสามารถใช้โวลท์ (V), มิลลิแอมป์ (mA) และ กิโลโอห์ม (kohm) ได้หากต้องการ
ระวังด้วยว่า, ต้องไม่ผสมชุดหน่วย เช่น ใช้ V, A และ kohm ในกฏของโอห์มซึ่งจะทำให้ได้ค่าที่ผิด


หน้าต่อไป: หนังสือเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ | เรียนอิเล็กทรอนิกส์

ไอซีอีแปลและเรียบเรียง เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ ขอขอบคุณ Mr. James Hewes