| หน้าแรก | สารบัญ | โครงงาน | การประกอบ | การบัดกรี | เรียนอิเล็กทรอนิกส์ | อุปกรณ์ | 555 | สัญลักษณ์ | ถามบ่อยๆ | ลิ้งค์ที่น่าสนใจ | กลับไอซีอี |
Electronicsหากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง ติชม เสนอแนะ ถามปัญหา ได้ที่ ice@icelectronic.com จะขอบคุณยิ่ง

 

ระบบอนาลอกและดิจิตอล(Analogue and Digital Systems)

อนาลอก | ดิจิตอล | โลจิก

หน้าต่อไป: โลจิกเกท

Analogue signal
สัญญาณอนาลอก
Analogue display
หน้าปัทม์มิเตอร์อนาลอก

ระบบอนาลอก

ระบบอนาลอกทำการเปลี่ยนสัญญาณอนาลอกซึ่งสามารถได้ค่าใดๆภายในช่วง ตัวอย่างเช่น เอาท์พุทจาก LDR (เซนเซอร์แสง)หรือไมโครโฟน

เครื่องขยายเสียง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของระบบอนาลอก  เครื่องขยายเสียงผลิตแรงดันเอาท์พุท ซึ่งเป็นค่าใดๆภายในช่วงของแหล่งจ่ายไฟของมัน

มิเตอร์อนาลอก สามารถแสดงค่าใดๆภายในช่วงที่มีบนเสกลหน้าปัทม์  อย่างไรก็ตามความแม่นยำ ถูกจำกัดโดยความสามารถของเราที่จะอ่าน  ตัวอย่างเช่นมีเตอร์แสดงที่ 1.25V เพราะว่าเข็มชี้ที่ ประมาณครึ่งทาง ระหว่าง 1.2 และ 1.3. มิเตอร์อนาลอกสามารถแสดงค่าใดๆระหว่าง 1.2 และ 1.3 แต่เราไม่สามารถ ที่จะอ่านเสกลหน้าปัทม์ให้ได้แม่นยำมากกว่าครึ่งขีด

วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดมักประสบกับสัญญาณรบกวน(noise) ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ต้องการผสม กับสัญญาณที่ต้องการ ตัวอย่างเช่นเครื่องขยายเสียง อาจรับและเกิดเสียงอัมจากไฟบ้าน (ความถี่ 50Hz ของไฟฟ้าบ้าน) เป็นเรื่องยากที่จะ กำจัดสัญญาณรบกวนจากสัญญาณอนาลอก  เพราะว่ายากที่จะแยกแยะ ระหว่างสิ่งรบกวนกับสัญญาณที่ต้องการ


Digital signal
สัญญาณดิจิตอล (ตรรกะ)

 

Digital display
จอดิจิตอลมิเตอร์

ระบบดิจิตอล

ระบบดิจิตอลทำการเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลซึ่งสามารถได้เฉพาะจำนวนจำกัดของค่า(discrete steps), ปรกติถูกใช้เพียงสองค่า: แรงดันแหล่งจ่ายไฟบวก (+Vs) และแรงดันศูนย์ (0V)

รบบดิจิตอลประกอบด้วยอุปกรณ์ เช่น โลจิกเกท ฟลิฟ-ฟลอฟ, ชิฟท์รีจิสเตอร์และเคาน์เตอร์  คอมพิวเตอร์เป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบดิจิตอล

มิเตอร์ดิจิตอล สามารถแสดงค่ามากมาย, แต่ไม่ใช่ทุกค่าที่อยู่ในช่วง ตัวอย่าง เช่น จอสามารถ แสดงค่า 6.25 และ 6.26 แต่ไม่สามารถแสดงค่าระหว่างทั้งสอง แต่นี่มิใช่ปัญหาเพราะปกติดิจิตอล มิเตอร์มีตัวเลขเพียงพอที่จะแสดงค่าที่แม่นยำมากกว่าความเป็นไปได้ที่จะอ่านจากหน้าปัทม์อนา
ลอกมิเตอร์ 


สัญญาณโลจิก

สภาวะตรรกะ
(Logic states)
 จริง
(True) 
ไม่จริง
(False)
1 0
สูง(High) ต่ำ(Low)
+Vs 0V
เปิด(On) ปิด(Off)
ระบบดิจิตอลส่วนใหญ่ใช้ชนิดสัญญาณที่ง่ายๆ  ซึ่งมีเพียงสองค่า  ชนิดของสัญญาณนี้เรียกว่าสัญญาณตรรกะ(logic signal) เพราะสองค่า(หรือสภาวะ)นี้สามารถเรียกว่า จริง(true)และไม่จริง(false)ปกติแรงดันแหล่งจ่ายไฟบวก +Vs แทนค่าจริงและ 0V แทนค่าไม่จริง  ชื่อเรียกอื่นของสภาวะจริง(true)และไม่จริง(false)ดังแสดงในตารางขวามือ

สัญญาณรบกวนค่อนข้างง่ายที่จะกำจัดออกจากสัญญาณดิจิตอลเพราะสะดวกต่อการแยกแยะจากสัญญาณที่ต้องการ ซึ่งมีค่าจำเพาะ  ตัวอย่างเช่น: หากสัญญาณตรรกะหมายถึง +5V (จริง) หรือ 0V (ไม่จริง), สัญญาณรบกวนที่สูงถึง 2.5Vสามารถตัดออกโดยแยกแรงดันทั้งหมดที่สูงกว่า 2.5V คือจริง(true)และแรงดันที่น้อยกว่า 2.5V เป็นไม่จริง(false)



หน้าต่อไป: โลจิกเกท | เรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์

ไอซีอีแปลและเรียบเรียง เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ ขอขอบคุณ Mr. James Hewes