หน้าต่อไป: อิมพิแดนซ์และรีแอคแตนซ์
ควรดู: ตัวเก็บประจุ
| แหล่งจ่ายไฟ
ด้วย
สัญลักษณ์ตัวเก็บประจุ
ไม่มีขั้ว |
สัญลักษณ์ตัวเก็บประจุ มีขั้ว |
ประจุ, Q = C × V | ในเมื่อ: | Q =
ประจุหน่วยเป็น
คูลอมป์ (C) C = ค่าความจุหน่วยเป็น ฟารัด (F) V = แรงดันหน่วยเป็น โวลท์ (V) |
เมื่อมันเก็บประจุ, ตัวเก็บประจุจะเก็บพลังงานด้วยโดย:
พลังงาน E = ½QV = ½CV² เมื่อ E = พลังงานหน่วยเป็นจูล (J)
โปรดสังเกตว่าพลังงานในตัวเก็บประจุเก็บเพื่อกลับไปใช้กับวงจร ไม่ได้แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อนเหมือนตัวต้านทานแต่อย่างใด พลังงานที่ถูกเก็บโดยตัวเก็บประจุนั้นน้อยกว่าพลังงาน ที่ถูกเก็บด้วยแบตเตอรี่มาก ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานได้
รีแอคแตนซ์ตัวเก็บประจุ, Xc = | 1 | ในเมื่อ: | Xc =
รีแอคแตนซ์มีหน่วยเป็นโอห์ม
() f = ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิร์ท (Hz) C = ค่าความจุมีหน่วยเป็นฟารัด (F) |
2fC |
ค่ารีแอคแตนซ์ Xc จะมากที่ความถี่ต่ำและน้อยที่ความถี่สูง สำหรับไฟฟ้ากระแสตรงคงที่ DC ซึ่งมีความถี่เป็นศูนย์ ค่ารีแอคแตนซ์ Xc เป็นอนันต์(ต้านทานสูงสุด) ดังนั้นจึงเป็นกฎว่า ตัวเก็บประจุยอมให้ AC ผ่าน แต่กั้น DC
ตัวอย่างเช่นตัวเก็บประจุค่า 1µF มีรีแอคแตนซ์ 3.2k ที่ความถี่ 50Hz แต่ที่ความถี่สูงกว่าเช่นที่ 10kHz จะมีค่ารีแอคแตนซ์เพียง 16
หมายเหตุ: สัญลักษณ์ Xc แทนรีแอคแตนซ์ของตัวเก็บประจุ ส่วน XL แทนรีแอคแตนซ์ของตัวเหนี่ยวนำ ความต่างกันที่สำคัญมากคือ XL มี่ค่าเพิ่มตามความถี่(ตรงกันข้ามกับ Xc) และหากทั้ง XL และ Xc ถูกนำมาต่อในวงจร ผลรวมของรีแอคแตนซ์ (X) คือค่าความแตกต่างของทั้งคู่ สำหรับรายละเอียดให้ไปดูที่หน้า อิมพิแดนซ์
ผลรวมค่าความจุ
(C)
ของตัวเก็บ ประจุที่ต่อกันแบบอนุกรม: |
1 | = | 1 | + | 1 | + | 1 | + ... |
C | C1 | C2 | C3 |
ผลรวมค่าความจุ (C)
ของตัวเก็บ ประจุที่ต่อกันแบบขนาน: |
C = C1 + C2 + C3 + ... |
ในวงจรที่ใช้งานจริงมักไม่ค่อยจงใจต่อตัวเก็บประจุสองตัวหรือมากกว่าในแบบอนุกรม แต่จะใช้ประโยชน์ได้มากในการต่อตัวเก็บประจุแบบ ขนานเพื่อให้ได้ค่ามากขึ้น เช่นในวงจรกรองของแหล่งจ่ายไฟ
สังเกตว่าสมการนี้จะตรงกันข้ามกับสมการของ
ตัวต้านทานในแบบอนุกรมและขนาน
กระแสประจุ I = (Vs - Vc) / R (หากแรงดัน Vc เพิ่มขึ้น)
แต่ตอนแรก Vc = 0V ดังนั้น กระแสเริ่มต้น Io = Vs / R
Vc
เพิ่มขึ้นทันทีเมื่อประจุ
(Q)
เริ่มเกิดขึ้น
(Vc = Q/C)
ทำให้แรงดันตกคร่อมตัวต้านทานลดลงและกระแสการประจุก็จะลดลงด้วย
นั่นหมายความว่าอัตรา
การประจุจะลดลงไปเรื่อยๆ
ไทม์คอนแสตนท์ = R × C | ในเมื่อ: | ไทม์คอนแสตนท์มีหน่วยเป็นวินาที
(s) R = ความต้านทานมีหน่วยเป็นโอห์ม () C = ค่าความจุมีหน่วยเป็นฟารัด (F) |
ตัวอย่าง:
หาก R = 47k
และ C
= 22µF
ดังนั้นไทม์คอนแสตนท์คือ
RC = 47k
× 22µF = 1.0s
หาก R = 33k
และ C
= 1µF
ดังนั้นไทม์คอนแสตนท์คือ
RC = 33k
× 1µF = 33ms
ถ้าไทม์คอนมากหมายถึงตัวเก็บประจะประจุช้าลง สังเกตว่าไทม์คอนแสตนท์มาจากคุณสมบัติของค่าความจุและความต้านทานที่ประกอบในวงจร ไม่ใช่เฉพาะคุณสมบัติของตัวเก็บประจุอย่างเดียว
กราฟแสดงกระแสและแรงดัน สำหรับการประจุตัวเก็บประจุ ไทม์คอนแสตนท์ = RC |
หลังจากแต่ละไทม์คอนแสตนท์ กระแสจะตกไปโดย 1/e (ประมาณ 1/3) หลังจาก5ไทม์คอนแสตนท์ (5RC) กระแสตกไปที่น้อยกว่า 1% ของค่าเริ่ม และเราอาจกล่าวได้ว่าตัวเก็บประจุถูกประจุเต็มแล้ว แต่ในความเป็นจริงตัวเก็บประจุจะถูกประจุให้เต็มตลอดไป
|
หลังจาก 5ไทม์คอนแสตนท์ (5RC) ตัวเก็บประจุจะถูกประจุเต็ม ส่วนแรงดันก็เท่ากับแรงดันแหล่งจ่าย เราอาจกล่าวได้ว่า ตัวเก็บประจุถูกประจุเต็มหลังจาก 5RC แม้ว่าจริงๆแล้วการประจุุจะเกิดต่อเนื่องตลอดไป(หรือจนกว่าวงจรจะเปลี่ยนแปลง)
กราฟแสดงกระแสและแรงดัน สำหรับการคลายประจุตัวเก็บประจุ ไทม์คอนแสตนท์ = RC |
กราฟบน แสดงการลดของ กระแส (I) เมื่อตัวเก็บประจุถูกคลายประจุ กรแสเริ่มต้น (Io) ถูกกำหนดโดยแรงดันเริ่มต้นคร่อมตัวเก็บประจุ(Vo) และตัวต้านทาน (R) ดังนี้:
กระแสเริ่มต้น Io = Vo / R
สังเกตว่ากราฟกระแสการประจุและคลายประจุของตัวเก็บประจุมีรูปร่างเหมือนกัน กราฟแบบนี้เป็นตัวอย่างของเอกซ์โปเนนเชียลดีเค(exponential decay)
|
ตอนแรกกระแสจะมากเพราะแรงดันสูง ดังนั้นประจุจึงหมดไปอย่างรวดเ็ร็วและแรงดันก็ลดลงอย่างรวดเร็วด้วย เมื่อประจุ หมดไปมากแรงดันลด ทำให้มีกระแสน้อย ดังนั้นอัตราการคลายประจุก็จะช้าลงไปเรื่อยๆ
หลังจาก 5ไทม์คอนแสตนท์ (5RC) แรงดันตกคร่อมตัวเก็บประจุก็เป็นศูนย์ และเราสามารถกล่าวได้ว่า ตัวเก็บประจุถูก คลายประจุหมด แม้ว่าจริงๆแล้วการคลายประจุุจะเกิดต่อเนื่องตลอดไป(หรือจนกว่าวงจรจะเปลี่ยนแปลง)
ลักษณะที่ถูกต้องแม่นยำของตัวเก็บประจุคับปลิ้งถูกกำหนดโดยไทม์คอนแสตนท์ (RC) สังเกตว่าความต้านทาน(R)อาจอยู่ ภายในส่วนของวงจรถัดไปแทนที่จะเป็นตัวความต้านทาน
สำหรับความสำเร็จของการใช้ตัวเก็บประจุคับปลิ้งในระบบเสียง
คือสัญญาณที่ผ่านต้องไม่ผิดเพี้ยนหรือเพี้ยนน้อยมาก
โดย
การใช้ค่าไทม์คอนสแตนท์
(RC) ที่มากกว่า ระยะเวลา
(T)
ของความถี่ต่ำสุดของสัญญาณเสียงที่ต้องการ(ปกติคือ 20Hz, T = 50ms)
เอาท์พุทเมื่อ
RC >> T
เมื่อไทม์คอนแสตนท์มากกว่าระยะเวลาของสัญญาณอินพุทมาก
ตัวเก็บประจุไม่มีเวลามากพอหรือไม่ทันที่จะประจุและ
คลายประจุ
สัญญาณจึงผ่านไปโดยไม่มีการผิดเพี้ยน
เอาท์พุทเมื่อ RC = T
เมื่อไทม์คอนแสตนท์เท่ากับระยะเวลาของสัญญาณอินพุท
ตัวเก็บประจุจะมีเวลาพอประจุและคลายประจุก่อนที่สัญญาณจะ
เปลี่ยน
ด้วยเหตุนี้สัญญาณที่ผ่าน
CR-คับปลิ้งจึงเพี้ยน
โปรดสังเกตการเปลี่ยนฉับพลันของสัญญาณอินพุทที่ผ่านตัวเก็บประจุ
ไปยังเอาท์พุท
เอาท์พุทเมื่อ RC << T
เมื่อไทม์คอนแสตนท์น้อยกว่าระยะเวลาของสัญญาณอินพุทมาก
ตัวเก็บประจุมีเวลาเต็มที่จะประจุและคลายประจุหลังจาก
แต่ละการเปลี่ยนฉับพลันของสัญญาณอินพุท
โดยมีผลเฉพาะการเปลี่ยนฉับพลันผ่านไปยังเอาท์พุทและปรากฎเป็นสไปค์
(spikes)
สลับกันทางบวกและลบ
สิ่งนี้สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในระบบที่ต้องการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน
ของสัญญาณ