| หน้าแรก
| สารบัญ
| โครงงาน
| การประกอบ
| การบัดกรี
|
เรียนอิเล็กทรอนิกส์
| อุปกรณ์
| 555 | สัญลักษณ์
| ถามบ่อยๆ
| ลิ้งค์ที่น่าสนใจ
| กลับไอซีอี
|
หากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง
ติชม เสนอแนะ
ถามปัญหา
ได้ที่
ice@icelectronic.com จะขอบคุณยิ่ง
แหล่งจ่ายไฟ(Power Supplies)
ชนิด | แหล่งจ่ายแบบคู่
| หม้อแปลง
| วงจรเรียงกระแส |
วงจรกรอง |
วงจรคุมค่า์หน้าต่อไป:
ทรานสดิวเซอร์
ควรอ่าน: เอซี
และ ดีซี | ไดโอด
| ตัวเก็บประจุ
ด้วย
ชนิดของแหล่งจ่ายไฟ
แหล่งจ่ายไฟมีหลายชนิด
ส่วนใหญ่ออกแบบเพื่อแปลงไฟบ้านซึ่งมีแรงดันสูง(เอ.ซี.
220โวลท์)ให้ได้แรงดันต่ำที่เหมาะสมใช้กับวงจรอิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นๆ
แหล่งจ่ายไฟสามารถแบ่งเขียนเป็นบล็อกอนุกรม
ซึ่งแต่ละบล็อกมีหน้าที่เฉพาะต่างกัน
ตัวอย่างแหล่งจ่ายไฟตรงคุมค่า
5V :
แต่ละบล็อกมีคำอธิบายรายละเอียดดังนี้:
- หม้อแปลง -
ลดแรงดันสูงจากไฟกระแสสลับ(AC)บ้านให้มีแรงดันกระแสสลับ(AC)ต่ำ
- วงจรเรียงกระแส -
แปลงไฟกระแสสลับ(AC)ต่ำ
เป็นไฟกระแสตรง
(DC)
แต่ไฟตรงยังไม่เรียบ
- วงจรรอง -
กรองไฟตรง DC
ให้เรียบมีพริ้ว(ripple)น้อยๆ
- วงจรคุมค่า์ -
ทำให้พริ้วหายไปและกำหนดค่าแรงดัน
DC ออกคงที่
รายละเอียดคำอธิบายพร้อมทั้งวงจรแผนภาพและกราฟเอาท์พุทของแหล่งจ่ายไฟที่เกิดจากบล็อกดังนี้:
วงจรอิเล็กทรอนิกส์บางวงจรต้องการแหล่งจ่ายไฟ
บวก ลบ และ 0
โวลท์ (0V)
เราเรียกว่าแหล่งจ่ายไฟคู่
เพราะเหมือนกับมีแหล่งจ่ายไฟสองชุด
ดังแผนภาพ
แหล่งจ่ายไฟคู่มี
3 เอาท์พุท
ตัวอย่างเช่น
±9V จะมีไฟออก +9V, 0V
และ -9V
เฉพาะหม้อแปลง
เอาท์พุทของไฟกระแสสลับ(AC)แรงดันต่ำเหมาะสำหรับเลี้ยงหลอด,
ใส้หลอด
มอเตอร์ ACเล็กๆ
ยังไม่เหมาะที่จะป้อนให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์หากยังไม่ผ่านวงจรเรียงกระแสและวงจรกรอง
ข้อมูลเพิ่มเติม: หม้อแปลง
หม้อแปลง +
วงจรเรียงกระแส
เอาท์พุทของไฟกระแสตรง(DC)ที่ไม่เรียบ
เหมาะสำหรับเลี้ยงหลอด,
ใส้หลอด
มอเตอร์ DCเล็กๆ
ยังไม่เหมาะที่จะป้อนให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์หากยังไม่ผ่านวงจรกรอง
ข้อมูลเพิ่มเติม: หม้อแปลง | วงจรเรียงกระแส
หม้อแปลง +
วงจรเรียงกระแส +
วงจรกรอง
เอาท์พุทไฟกระแสตรง(DC)เรียบ
มีพิ้วน้อยเหมาะสำหรับป้อนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่
ข้อมูลเพิ่มเติม: หม้อแปลง | วงจรเรียงกระแส
| วงจรกรอง
หม้อแปลง +
วงจรเรียงกระแส
+ วงจรกรอง +
วงจรคุมค่า
เอาท์พุทไฟกระแสตรง(DC)
คุมค่า
ไฟเรียบมากไม่มีพริ้วเหมาะสำหรับป้อนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
ข้อมูลเพิ่มเติม: หม้อแปลง | วงจรเรียงกระแส
| วงจรกรอง | วงจรคุมค่า
หม้อแปลง(Transformer)
|
สัญล้กษณ์หม้อแปลง |
|
หม้อแปลง
|
หม้อแปลงทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระสลับจากแรงดันค่าหนึ่งเป็นอีกค่าหนึ่งโดยให้มีการสูญเสียกำลังงานน้อยที่สุด
หม้อแปลงทำงานเฉพาะกับไฟฟ้า
กระแสสลับเท่านั้น
และนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมไฟฟ้าบ้านจึงเป็นไฟกระแสสลับหม้อแปลง
แปลงขึ้น(step-up)
เพิ่มแรงดัน
ส่วนหม้อแปลง
แปลงลง(step-down)
ลดแรงดัน
แหล่งจ่ายไฟส่วนใหญ่ใช้หม้อแปลงลดแรงดัน
เพื่อลดแรงดัน
ไฟบ้านที่มีแรงดันสูง
(220V)ซึ่งเป็นอันตรายให้ต่ำลงเพื่อความปลอดภัย
ขดลวดทางเข้าเรียกว่าปฐมภูมิ(primary)
และขดลวดทางออกเรียกว่าทุติยภูมิ(secondary)
ระหว่างขดทั้งสองไม่มีการต่อกันทางไฟฟ้า
แต่ใช้การเชื่อมกัน
โดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับที่เกิดขึ้นในแกนเหล็กของหม้อแปลง
ขีดสองเส้นระหว่างขดลวดในรูปสัญลักษณ์แทนแกนเหล็ก
หม้อแปลงเสียพลังงานน้อย
จึงถือว่ากำลังงานเข้าเท่ากับกำลังงานออก
และสังเกตว่าเมื่อแรงดันแปลงลง
กระแสก็จะแปลงขึ้น
อัตราส่วนจำนวนรอบของแต่ละขดลวดเรียกว่า
อัตราส่วนรอบ(turns ratio)
เป็นตัวกำหนดอัตราส่วนแรงดัน
หม้อแปลงลดแรงดัน(step-down)
มีขดลวด
จำนวนรอบมากคือขดปฐมภูมิต่อกับแรงดันไฟบ้านเป็นอินพุท
และทางด้านเอาท์พุทเป็นขดทุติยภูมมีิจำนวนรอบน้อยให้แรงดันออกต่ำ
อัตราส่วนรอบ = |
Vp |
= |
Np |
และ |
กำลังออก = กำลังเข้า |
Vs |
Ns |
Vs × Is = Vp × Ip |
Vp =
แรงดันปฐมภูมิ(อินพุท)
Np =
จำนวนรอบของขดลวดปฐมภูมิ
Ip = กระแสปฐมภูมิ(อินพุท) |
|
Vs =
แรงดันทุติยภูมิ
(เอาท์พุท)
Ns = จำนวนรอบของขดลวดทุึติยภูมิ
Is = กระแสทุติยภูมิ
(เอาท์พุท) |
วงจรเรียงกระแส(Rectifier)
มีหลายวิธีในการต่อไดโอดของวงจรเรียงกระแสเพื่อแปลงไฟกระแสสลับเป็นไฟกระแสตรง
วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์
เป็นวิธีที่สำคัญที่สุดสามารถเรียงกระแสแบบเต็มคลื่น(full-wave)
และการ
เรียงกระแสแบบเต็มคลื่นมีอีกวิธีหนึ่งคือใช้ไดโอดเพียงสองตัวแต่ต้องต่อกับหม้อแปลงแบบเซนเตอร์แทป
แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้วิธีนี้เพราะไดโอดไม่ได้แพงอะไรมาก
ไดโอดตัวเดียว
ก็สามารถ
ต่อเป็นวงจรเรียงกระแสได้
โดยเรียงได้เฉพาะคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับทางด้านบวกได้เป็นไฟกระแสตรงครึ่งคลื่น
วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์(Bridge rectifier)
การเรียงกระแสแบบบริดจ์สามารถใช้ไดโอดเดี่ยวสี่ตัวมาต่อกันหรือสามารถใช้ไดโอดบริดจ์แบบแพคเกจสำเร็จรูปก็ได้
เรียกว่าการเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นเพราะใช้คลื่นไฟฟ้ากระแสสลับทั้งหมด
(ทั้งด้านบวกและด้านลบ)
ตัวเรียงกระแสแบบบริดจ์จะเกิดแรงดันตกคร่อม1.4Vเพราะไดโอดแต่ละตัวจะตกคร่อมเท่ากับ
0.7Vขณะนำกระแส
และบริดจ์มีการนำกระแสสองตัวพร้อมกัน,
ดังแสดงใน
แผนภาพด้านล่าง
ตัวเรียงกระแสแบบบริดจ์จัดแบ่งตามกระแสสูงสุดที่สามารถผ่านได้และแรงดันกลับสูงสุดที่ทนได้
(ในการเลือกใช้งานอย่างน้อยต้องสูงเป็นสามเท่าของแรงดันแหล่งจ่าย
RMS
นั้นคือวงจรเรียงกระแสจะสามารถทนแรงดันยอดได้)
กรุณาดูรายละเอียดที่หน้า
ไดโอด
รวมทั้งรูปของวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์
|
|
วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์
ไดโอดสลับคู่กันนำกระแส,
เปลี่ยนกลับตลอดการต่อ
ดังนั้นทิศทางสลับกันของไฟฟ้ากระแสสลับจึงถูกแปลง
เป็นไฟกระแสตรงทิศทางเดียว |
เอาท์พุท:
ไฟกระแสตรงเต็มคลื่น
(ใช้คลื่นไฟฟ้ากระแสสลับทั้งหมด) |
วงจรเรียงกระแสแบบไดโอดตัวเดียว
ไดโอดตัวเดียวสามารถใช้เป็นตัวเรียงกระแส
ได้ไฟกระแสตรงแบบครึ่งคลื่น
ซึ่งจะมีช่องว่างตอนไฟกระแสสลับช่วงลบ
จึงยากในการกรองให้เหมาะที่จะใช้กับวงจรอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากใช้กับวงจรที่กินกระแสน้อยๆ
ซึ่งคาปาซิเตอร์กรองยังคลายประจุไม่ทันหมดในระหว่างช่อง
กรุณาดูหน้า ไดโอด
สำหรับตัวอย่างของไดโอดเรียงกระแส
|
|
วงจรเรียงกระแสแบบไดโอดตัวเดียว |
เอาท์พุท:
ไฟกระแสตรงครึงคลื่น
(ใช้เฉพาะครึ่งหนึ่งของคลื่นไฟกระแสสลับ) |
วงจรกรอง(Smoothing)
การกรองเกิดขึ้นโดยการต่อ อิเล็กโตรไลติก
คาปาซิเตอร์
ค่าสูงคร่อมไฟกระแสตรง
ทำหน้าที่เหมือนบ่อเก็บน้ำ,
ป้อนกระแสให้เอาท์พุทเมื่อแรงดันกระแสสลับจากวงจรกรองกระแสตกลง
แผนภาพ
แสดงให้เห็นไฟกระแสตรงที่ยังไม่กรอง(เส้นประ)
และไฟกระแสตรงที่กรองแล้ว(เส้นทึบ)
คาปาซิเตอร์ประจุเร็วที่ใกล้ยอดของไฟกระแสตรงและคลายประจุป้อนกระแสให้เอาท์พุท
โปรดสังเกตว่าการกรองทำให้แรงดันกระแสตรงเพิ่มขึ้นถึงค่ายอด(1.4 × RMS
)
ตัวอย่างเช่นไฟกระแสสลับ
6V RMS
เมื่อถูกเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นจะได้ไฟกระแสตรงประมาณ
4.6V RMS (สูญเสียที่ไดโอดบริดจ์เรียงกระแส1.4V),
เมื่อผ่านวงจรกรองจะเพิ่มเป็นค่ายอดเท่ากับ
1.4 × 4.6 = 6.4V (DC)
การกรองไม่เรียบสมบูรณ์เพราะแรงดันของตัวเก็บประจุตกเล็กน้อยตอนคลายประจุ
จึงเกิดแรงดันพริ้ว(ripple)เล็กน้อย
สำหรับวงจรโดยส่วนมากแหล่งจ่ายไฟที่มีแรงดันพริ้ว10%
ก็ใช้ได้แล้ว
ค่าของตัวเก็บประจุสำหรับการกรองหาได้จากสมการข้างล่าง
หากตัวเก็บประจุใหญ่พริ้วก็จะน้อย
สำหรับไฟกระแสตรงแบบครึ่งคลื่นตัวกรองต้องใช้ตัวเก็บประจุค่าสูงเป็นสองเท่า
ตัวเก็บประจุสำหรับกรองพริ้ว 10%, C = |
5 × Io |
Vs × f |
Io =
กระแสออกจากแหล่งจ่ายไฟ
Vs =
แรงดันแหล่งจ่าย
(ค่ายอดของไฟDCที่ยังไม่กรอง)
f =
ความถี่ของไฟ
AC แหล่งจ่าย
(50Hz)
วงจรคุมค่า(Regulator)
|
|
|
ไอซีคุมค่าแรงดัน
|
ไอซีคุมค่าแรงดันมีชนิดค่าแรงดันคงที่
(เป็นต้นว่า 5, 12
และ 15V) หรือ
แรงดันเอาท์พุทปรับได้
มันถูกเรียกตามกระแสสูงสุดที่สามารถผ่านได้
ไอซีคุมค่าแรงดันลบก็มี
เหมาะสำหรับใช้กับแหล่งจายไฟแบบคู่
ไอซีคุมค่าส่วนใหญ่จะมีวงจรการป้องกันอัตโนมัติจาก
กระแสเกิน (overload
protection) และ
ความร้อนเกิน
(thermal protection)ไอซีคุมค่าแบบคงที่ส่วนมากมี 3
ขา
และมองดูเหมือนเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์,
เช่นไอซีคุมค่าเบอร์
7805 +5V 1A
แสดงทางขวามือ
ด้านบนมีรูสำหรับยึดติด
แผ่นระบายความร้อน
หากจำเป็น
|
ซีเนอร์ไดโอด
a = แอโหนด(anode),
k = แคโถด(cathode) |
|
ซีเนอร์ไดโอด(Zener diode)คุมค่า
สำหับแหล่งจ่ายไฟกระแสต่ำ
สามารถใช้วงจรแรงดันคุมค่าแบบง่ายๆ
ใช้ตัวต้านทานและซีเนอร์ไดโอดต่อกลับ(reverse)
ดังแสดงในแผนภาพ
เราลำดับ
ซีเนอร์ไดโอดตามแรงดันทะลุ(breakdown voltage) Vz
และกำลังสูงสุด
Pz (เช่น 400mW หรือ 1.3W).ตัวต้านทานทำหน้าที่จำกัดกระแส
(เหมือนตัวต้านทานที่ต่อกับ
LED)
กระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทานจะคงที่
ดังนั้นเมื่อไม่มีกระแสเอาท์พุท
กระแสทั้งหมดจะไหลผ่านซีเนอร์ไดโอด
ดังนั้นกำลัง Pz
ของซีเนอร์ไดโอดต้องมากพอและทนได้
โปรดดูที่หน้า
ไดโอด
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับซีเนอร์ไดโอด
การเลือกซีเนอร์ไดโอดและตัวต้านทาน:
- แรงดันของซีเนอร์
Vz
คือแรงดันเอาท์พุทที่ต้องการ
- แรงดันอินพุท Vs
ต้องมากกว่า
Vz
สองสามโวลท์
(ทั้งนี้เพื่อให้Vsมีการผนผวนน้อยอันเนื่องจากพริ้ว)
- กระแสสูงสุด
Imax
คือกระแสที่ต้องการบวก
10%
- ขนาดกำลัง Pz
ของซีเนอร์เป็นตัวกำหนดกระแสสูงสุด: Pz > Vz × Imax
- ค่าของตัวต้านทาน: R = (Vs - Vz) / Imax
- วัตต์ของตัวต้านทาน: P > (Vs - Vz) × Imax
ตัวอย่าง:
แรงดันเอาท์พุทที่ต้องการคือ 5V,
กระแสเอาท์พุทที่ต้องการคือ 60mA
- Vz = 4.7V (ค่าใกล้ที่สุดที่หาได้
)
Vs = 8V (จะต้องสูงกว่า
Vz
สองสามโวลท์)
Imax = 66mA (กระแสเอาท์พุทบวก
10%)
Pz > 4.7V × 66mA = 310mW, เลือก
Pz = 400mW
R = (8V - 4.7V) / 66mA = 0.05k
= 50,
เลือก R
= 47
ขนาดวัตต์ของตัวต้านทาน P > (8V - 4.7V) × 66mA = 218mW,
เลือก P =
0.5W
หน้าต่อไป: ทรานสดิวเซอร์
| เรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์
ไอซีอีแปลและเรียบเรียง
เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย
ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ
ขอขอบคุณ Mr.
James Hewes